dc.contributor.advisor |
พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา |
|
dc.contributor.author |
อภิสรา วนกรกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-03T06:18:07Z |
|
dc.date.available |
2022-05-03T06:18:07Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78532 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการสะสมเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุคาร์บอนสะสมเหนือพื้นดินในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านบุญเรือง ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยการเก็บข้อมูลขนาดเส้นรอบวงของต้นไม้ในปี พ.ศ. 2562 ในแปลงถาวร ขนาด 40 x 40 ตร.ม. ที่มีผู้ศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2561 จำนวน 4 แปลง จากนั้นคำนวณปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยใช้สมการอัลโลเมทรีของป่าผลัดใบ คำนวณปริมาณคาร์บอนสะสม ซึ่งมีค่าประมาณร้อยละ 50 ของมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง 2 ช่วง ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ศึกษามีอัตราการเก็บสะสมคาร์บอนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 0.43 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์/ปี และเมื่อพิจารณารายแปลง พบว่า แปลงที่ 1 และแปลงที่ 3 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุคาร์บอนสะสมเพิ่มขึ้น คิดเป็น 1.99 และ 0.60 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์/ปี ตามลำดับ แปลงที่ 2 และแปลงที่ 4 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุคาร์บอนสะสมลดลง คิดเป็น 0.55 และ 0.33 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์/ปี ตามลำดับ พันธุ์ไม้ที่มีปริมาณธาตุคาร์บอนสะสมเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ มะกอกป่า Spondias pinnata คิดเป็น 14.17 กิโลกรัม/ต้น/ปี พันธุ์ไม้ที่มีปริมาณธาตุคาร์บอนสะสมลดลงสูงสุด คือ กระบก Irvingia malayana คิดเป็น -2.02 กิโลกรัม/ต้น/ปี ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการพื้นที่ป่า โดยหากต้องการเน้นด้านการสะสมธาตุคาร์บอน ควรเลือกปลูกต้นไม้ 3 ชนิดแรกที่มีการเจริญเติบโตเร็ว คือ คือ มะกอกป่า Spondias pinnata, ติ้วแดง Cratoxylum cochinchinense และ ประดู่ป่า Pterocarpus macrocarpus |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This study aims to estimate aboveground carbon storage changes over 1 year period in community forest at Bun Rueang village, Lainan subdistrict, Wiang Sa district, Nan province. This research was done in 2019 by measuring the circumference of trees in the four permanent plots (40 x40 sq m) which were estsblished in 2018. Allometric equation for deciduous forest was used to estimate aboveground biomass. Aboveground carbon was estimated by 50% of the aboveground biomass. These two data sets were then compared. The results showed that an increasing carbon storage rate of 0.43 Mgha-1yr-1 was detected. Increasing carbon storage was also detected in 1 and 3 plots with the rates of 1.99 and 0.60 Mgha-1yr-1, respectively. Decresing carbon storage was also detected in 2 and 4 plots with the rates of 0.55 and 0.33 Mgha-1yr-1, respectively. Spondias pinnata showed the highest carbon storage increasing (14.17 kg/tree/yr) while Irvingia malayana showed the lowest carbon storage increasing (-2.02 kg/tree/yr). Finding from this study could be applied for reforestation. For increase carbon stock purpose, Spondias pinnata, Cratoxylum cochinchinense and Pterocarpus macrocarpus are good candidates because they are fast growing. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ดิน -- ปริมาณคาร์บอน -- ไทย -- น่าน |
en_US |
dc.subject |
Soils -- Carbon content -- Thailand -- Nan |
en_US |
dc.title |
การเปลี่ยนแปลงปริมาณธาตุคาร์บอนสะสมเหนือพื้นดิน เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านบุญเรือง ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน |
en_US |
dc.title.alternative |
Aboveground carbon storage changes over 1 year period in community forest at Bun Rueang village, Lainan subdistrict, Wiang Sa district, Nan province |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |