dc.contributor.advisor | วราลักษณ์ เกษตรานันท์ | |
dc.contributor.advisor | ชนิตา ปาลิยะวุฒิ | |
dc.contributor.author | ทรรศน์มน ทองอินทร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-05-06T01:45:53Z | |
dc.date.available | 2022-05-06T01:45:53Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78536 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | ข้าวที่มีเปลือกเมล็ดสีม่วงเข้มหรือสีดำนั้นมีสารสีแอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารสีที่มีสีม่วงและยังมีการแสดงออกในส่วนอื่นๆ ของข้าว เช่น แผ่นใบ กาบใบ และยอดเกสรเพศเมีย เป็นต้น งานวิจัยนี้จึงศึกษาการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสารสีในใบและเปลือกเมล็ดข้าวในประชากรรุ่น F₃ ของพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่ ซึ่งมีเปลือกเมล็ดสีม่วงเข้ม ผสมกับพันธุ์ กข41 ซึ่งมีเปลือกเมล็ดสีขาว โดยบันทึกข้อมูลสีของส่วนต่าง ๆ ได้แก่ แผ่นใบ กาบใบ เขี้ยวกันแมลง ยอดเกสรเพศเมียและเปลือกเมล็ด เมื่อทดสอบด้วยไคสแควร์พบว่าสีของแผ่นใบ กาบใบ และยอดเกสรเพศเมียในประชากรรุ่น F₂ มีการกระจายตัวเป็น homozygous dominant: heterozygous: homozygous recessive ในอัตราส่วน 1: 2: 1 แสดงว่าลักษณะพันธุกรรมถูกควบคุมด้วยยีนเพียง 1 คู่ และมีความสัมพันธ์กันสูงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.900 – 0.934 สีของเปลือกเมล็ดมีความสัมพันธ์กับเยื่อกันน้ำฝนและเขี้ยวกันแมลงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น 0.626 และ 0.616 ตามลำดับ และลักษณะที่ศึกษามีค่าอัตราพันธุกรรมแบบแคบอยู่ในช่วงระหว่าง 73.0% - 92.9% ซึ่งบอกความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้ ดังนั้นผลที่ได้สามารถนำไปเป็นตัวช่วยในการคัดเลือกเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีประสิทธิภาพต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | Rice with dark purple or black pericarp contains anthocyanin pigment. The purple color and is expressed in different parts of rice, such as leaf blade, leaf sheath, and stigma, etc. Thus, this research had to study the inheritance of the pigment in the leaf and pericarp in the F₃ population of Riceberry which has dark purple pericarp crossed with RD 41, which has white pericarp. The color data were collected in the different parts, such as leaf blade, leaf sheath, ligule, auricle, stigma and pericarp. The Chi-square testing, the colors of the leaf blade, leaf sheath, and stigma, in the F₂ population with segregate to homozygous dominant: heterozygous: homozygous recessive in ratio 1: 2: 1. This result indicated that the genetic of these traits were controlled by a single gene, and which have highly correlated with the correlation coefficients between 0.900 – 0.934. The color of pericarp was related to ligule and auricle with the correlation coefficients were 0.626 and 0.616 respectively. And the traits studied had the narrow-sense heritabilities in the range between 73.0% - 92.9%, which indicated the ability of genetic inheritance from parents to progeny. Therefore, these results will be applied for selection to increase the efficiency in rice breeding. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ข้าว -- การปรับปรุงพันธุ์ | en_US |
dc.subject | Rice -- Breeding | en_US |
dc.title | การสืบทอดทางพันธุกรรมของสารสีในใบและเปลือกเมล็ดของคู่ผสมพันธุ์ระหว่าง ข้าวสีม่วงและข้าวสีขาว | en_US |
dc.title.alternative | Inheritance of leaf and pericarp pigment on crossing between purple rice and white rice | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |