DSpace Repository

ผลของสารสกัดจากจันทน์เทศ (Myristica fragrans Houtt.) ที่มีต่อเซลล์มะเร็งปากมดลูก

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัชนีกร ธรรมโชติ
dc.contributor.advisor สีหนาท ประสงค์สุข
dc.contributor.author นันธวรรธน์ เสฏฐวิวรรธน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-06T03:33:28Z
dc.date.available 2022-05-06T03:33:28Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78540
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของผู้หญิงทั่วโลก โดยสาเหตุหลักในการ เกิดมะเร็งปากมดลูก คือ การติดเชื้อไวรัสชนิด Human papillomavirus (HPV) การรักษามะเร็งปาก มดลูกในปัจจุบันส่งผลข้างเคียงกับผู้ป่วย จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษามะเร็งมากขึ้น เนื่องจากมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีความสามารถในการต่อต้านมะเร็งและส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อย ในงานวิจัยนี้จึงศึกษาสารสกัดจากเมล็ดจันทน์เทศ (Myristica fragrans Houtt.) เพื่อศึกษาคุณสมบัติ ผล ต่อการมีชีวิตและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการอะพอพโทซิสโดยศึกษาในเซลล์มะเร็งปากมดลูก 2 ชนิดคือ SiHa และC33a ผลการศึกษาคุณสมบัติของสารพบว่าการสกัดเมล็ดจันทน์เทศด้วย 95% เอ ทานอล อัตราส่วน 1:30 ให้ผลผลิตสูงที่สุดคือ 15.40±1.13% ส่วนปริมาณสารประกอบฟีนอลลิกและ ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในอัตราส่วน 1:10 ให้ค่ามากที่สุดคือ 29.40±1.22 ไมโครกรัมกรดแกลลิก/ น้ำหนักแห้ง และ 58.21±0.39% ตามลำดับ เมื่อบ่มเซลล์ด้วยสารสกัดที่ความเข้มข้น 0 ถึง 10 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร เป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าความเข้มข้นที่ทำให้เซลล์ตายไปครึ่งหนึ่ง (LC₅₀) ในเซลล์ชนิด SiHa และ C33a อยู่ที่ 2.49 และ 3.84 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าการบ่มเซลล์ C33a ด้วยสารสกัดจากเมล็ดจันทน์เทศลดการแสดงออกของยีน BCL2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่ เปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีน BAX และสารสกัดไม่มีผลต่อการแสดงออกของยีนทั้ง 2 ในเซลล์ SiHa ในการศึกษาครั้งนี้แสดงผลของสารสกัดจากเมล็ดจันทน์เทศที่มีต่อการมีชีวิตของเซลล์มะเร็งปากมดลูก ซึ่ง อาจนำไปสู่การทดลองในสิ่งมีชีวิตและพัฒนายาต้านมะเร็งต่อไปในอนาคต en_US
dc.description.abstractalternative Cervical cancer is one of the leading causes of death in women worldwide. The major cause of cervical cancer is Human papillomavirus (HPV) infection. Current treatments for cervical cancer lead to negative side effects. ,Therefore, medicinal plants have been studied for cancer treatment because they have bioactive compounds that have anticancer activity and cause less negative side effects. In this study, extracts from nutmeg (Myristica fragrans Houtt.) seed was analyzed for its properties, effects on cell viability and expression of apoptosis-related gene in two cervical cancer cell lines, SiHa and C33a. The results showed that the highest yield, 15.40±1.13%, was achieved when extracted with 95% ethanol at 1:30 ratio. The highest phenolic compound component and antioxidation activity were achieved when extracted at 1:10 ratio, with 29.40±1.22 μ g GAE/gDW and 58.21±0.39%, respectively. When cells were incubated with nutmeg extract ranging from 0 to 10 mg/ml for 48 hours, the lethal concentration (LC50) in SiHa and C33a were 2.49 and 3.48 mg/ml respectively. Moreover, when C33a cells were treated by nutmeg extract, the expression level of BCL2, but not BAX, was significantly decreased. The nutmeg extract didn’t affect gene expression in SiHa cells. This study showed effects of nutmeg seed extract to cervical cancer cell viability and gene expression. This information can be further investigated in vivo and developed as a new anti-cancer drug. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject จันทน์เทศ en_US
dc.subject สารสกัดจากพืช en_US
dc.subject ปากมดลูก -- มะเร็ง en_US
dc.subject Nutmeg en_US
dc.subject Plant extracts en_US
dc.subject Cervix uteri -- Cancer en_US
dc.title ผลของสารสกัดจากจันทน์เทศ (Myristica fragrans Houtt.) ที่มีต่อเซลล์มะเร็งปากมดลูก en_US
dc.title.alternative Effects of extracts from nutmeg (Myristica fragrans Houtt.) to cervical cancer cells en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record