Abstract:
การปนเปื้อนของอาร์เซนิกเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษในแหล่งน้ำ ที่ส่งให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมนุษย์ ได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำจัดอาร์เซนิกออกจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรม ในงานวิจัยนี้ได้สังเคราะห์ คอมโพสิตของนาโนเซลลูโลสและไคโตซาน สำหรับกำจัดอาร์เซนิก โดยทำการดัดแปรพื้นผิวของเซลลูโลสด้วย 3-mercaptopropyltrimethoxysilane เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับอาร์เซนิก ทำการตรวจสอบการ ดัดแปรผิวเซลลูโลสด้วยเทคนิค FTIR Spectroscopy โดยทำการสังเคราะห์วัสดุดูดซับ 8 ชนิด ได้แก่ NC, MC, NCSH, MCSH, NCCH, MCCH, NCSHCH และ MCSHCH และศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุดูดซับ ได้แก่ พื้นผิวของวัสดุดูดซับและความสามารถในการดูดซึมน้ำของวัสดุดูดซับ พบว่าวัสดุดูดซับทั้งหมดสามารถ ดูดซึมน้ำได้ดีและมีค่าเปอร์เซ็นการดูดซับน้ำ (Esr) ในช่วง 500-2500 % เมื่อทำการตรวจวัดประสิทธิภาพของ การดูดซับ As(III) และ As(V) ของวัสดุดูดซับทั้งหมด พบว่ามีเพียงวัสดุดูดซับคอมโพสิต NCCH, MCCH, NCSHCH และ MCSHCH ที่สามารถดูดซับ As(III) และ As(V) โดยมีความจุการดูดซับอยู่ในช่วง 0.8-1.6 และ 4-7 mg/g ตามลำดับ