dc.contributor.advisor |
นพดล กิตนะ |
|
dc.contributor.author |
อรยา อรรถจินดา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-09T08:48:55Z |
|
dc.date.available |
2022-05-09T08:48:55Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78554 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
การมีรูปร่างผิดปกติ หรือสภาพวิรูป (malformation) มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์และอาจเกี่ยวข้องกับการลดลงของประชากรสัตว์ สาเหตุที่เป็นไปได้สำหรับการเกิด malformation ในกบคือเกิดจากการติดเชื้อปรสิต Ribeiroia ondatrae ที่บริเวณ limb bud ของลูกอ๊อด ซึ่งเป็นบริเวณที่จะเจริญเป็นรยางค์ต่อไป ในปี พ.ศ. 2562 มีรายงานการพบ malformation ในกบนา Hoplobatrachus rugulosus ในบ่อเลี้ยงของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โดยพบกบมี 5-7 ขา มีลักษณะเป็นการเพิ่มจำนวนขึ้นทั้งเป็นตุ่มกระดูกหรือเป็นขาที่เกือบสมบูรณ์ จึงได้นำมาศึกษาในงานวิจัยนี้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางกายวิภาคและสัณฐานภายนอกของกบนาที่พบสภาพวิรูปของรยางค์ และ 2) ตรวจสอบร่องรอย metacercaria cyst เพื่อคาดการณ์สาเหตุการเกิดสภาพวิรูปของรยางค์ของกบนาในบ่อเลี้ยงของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยนำกบนาจำนวน 84 ตัว มาศึกษาลักษณะทางสัณฐานจากการเก็บข้อมูลความยาว snout ถึง vent (SVL) และความยาวของขาที่ผิดปกติ ก่อนนำมาศึกษากายวิภาคโดยเปรียบเทียบจากภาพ x-ray และดองใส พร้อมทั้งจัดจำแนกลักษณะ malformation ของกระดูกรยางค์ที่พบพร้อมทั้งบันทึกเป็นภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ (scientific illustration) และตรวจสอบหา metacercaria cyst จากการผ่าในบริเวณกล้ามเนื้อส่วนโคนขา ส่วนที่หางหดตัว และอวัยวะภายในต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่ากบนาอายุประมาณ 2 เดือน มีค่า SVL อยู่ที่ 4.79 ถึง 8.14 cm ส่วนกบนาอายุประมาณ 9 เดือน มีค่า SVL อยู่ที่ 8.58 ถึง 12.43 cm พบความผิดปกติที่ขาหลังทั้งหมดเป็นจำนวน 1-3 ขา ซึ่งจำนวนขาหลังที่พบมากที่สุดคือ 3, 4, 2 และ 5 ตามลำดับ โดยสามารถจัดจำแนกระดับความรุนแรงได้ 9 ระดับ จำแนกลักษณะสภาพวิรูปที่พบได้เป็น 16 ลักษณะ และไม่พบ metacercaria cyst ในบริเวณที่ตรวจสอบ ทั้งจากวิธีการดองใส และการผ่า ผลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปจัด จำแนกลักษณะกบนาออกเป็นระดับความรุนแรงเพื่อประเมินสภาพความรุนแรงในพื้นที่ นอกจากนี้สามารถนำ protocol การดองใสใช้เพื่อตรวจสอบ metacercaria cyst ได้ ทำให้สามารถคาดการณ์สาเหตุการเกิดสภาพวิรูป ของรยางค์ของกบนาได้ และเมื่อพิจารณาร่วมกับข้อมูลสภาพการเพาะเลี้ยงที่ผ่านมาจะช่วยให้เข้าใจสาเหตุและนำไปป้องกันปัญหาการเกิดสภาพวิรูปในกบนาทั้งในบ่อเลี้ยงและในธรรมชาติ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Deformed shape or malformation of body could interfere with animal well being and may be related to population decline. The possible cause of malformation in frogs is an infection of parasite Ribeiroia ondatrae in limb bud of tadpole or the region that will develop into appendages. In 2019, malformation has been reported in rice field frog Hoplobatrachus rugulosus raised in captivity at the Huai Hong Khrai Royal Development Study Center, Doi Saket District, Chiang Mai Province. The frogs have 5-7 legs, with the appearance of an increase in either bone or almost complete leg. This research thus aims 1) to examine anatomy and external morphology of malformed frogs, and 2) to investigate the signs of metacercaria cyst and speculated the causes of limb malformation in captive rice field frog at Huai Hong Khrai Royal Development Study Center. Eighty four rice field frogs were measured for snout to vent length (SVL) and malformed leg length. Anatomy of the frogs were studied by x-ray imaging and clearing and staning techniques. Severity of limb malformation were recorded and the illustration was made scientifically. The trace of metacercaria cyst were examined by dissecting the thigh muscle, cloacal muscle, and various internal organs. The results indicated that the rice field frogs had SVL 4.79 to 8.14 cm (2 months old), about 8.58 to 12.43 cm (9 months old). There were 1-3 malformed legs solely at the hind limb. The most common number of hind legs was 3, 4, 2 and 5, respectively. The severity level could be classified into 9 levels, and the total of 16 malformed characteristics were described. However, trace of metacercaria cyst was not found in the inspected area neither by clearing and staining nor dissection. The result from this research can be used identify malformation severity level based on the rice field frogs morphology and anatomy. In addition, clearing and staining protocol can be used to investigate the metacercaria cyst, and used for predicting the cause of limb malformation of the rice field frogs. Combining this with the retrospective data of culture condition, the cause of limb malformation could be identified and prevented from occurring with the frogs both in pond and nature. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
กบ -- กายวิภาค |
en_US |
dc.subject |
กบ -- สรีรวิทยา |
en_US |
dc.subject |
Frogs -- Anatomy |
en_US |
dc.subject |
Frogs -- Physiology |
en_US |
dc.title |
กายวิภาคและสัณฐานของสภาพวิรูปของรยางค์ในกบนา Hoplobatrachus rugulosus ในบ่อเลี้ยงของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ |
en_US |
dc.title.alternative |
Anatomy and morphology of limb malformation in the captive rice field frog Hoplobatrachus rugulosus at Huai Hong Khrai Royal Development Study Center, Chiang Mai Province |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |