dc.contributor.advisor |
วรวีร์ โฮเว่น |
|
dc.contributor.author |
พงศกร บุญรอด |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-10T02:34:07Z |
|
dc.date.available |
2022-05-10T02:34:07Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78561 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
เป้าหมายเริ่มต้นของงานวิจัยนี้คือการพัฒนาอนุภาคนาโนแคลเซียมฟอสเฟต (CaPNPs) คอนจูเกตกับโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะกับ RANKL หรือที่เรียกว่า anti-RANKL เพื่อใช้เป็นพาหะในการนำส่ง anti-RANKL เพื่อยับยั้งการเจริญและพัฒนาการของเซลล์สลายกระดูก ขอบเขตของงานวิจัยถูกปรับให้แคบลงเนื่องจากข้อจำกัดของเวลาในการทำวิจัย งานวิจัยจึงมุ่งเน้นเพียงการสังเคราะห์ CaPNPs โดยใช้พอลิเมอร์ที่มีหมู่คาร์บอกซิลเป็นสารทำให้เสถียร ได้แก่ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC), พอลิแอคริลิกแอซิด (PAA) จากนั้นจึงนำอนุภาคที่เตรียมได้ไปคอนจูเกตกับโปรตีนจำลองคือโบไวซีรัมแอลบูมิน (BSA) งานวิจัยนี้ใช้การตกตะกอนร่วมในการสังเคราะห์ CaPNPs 3 ชนิด คือ CaPNPs-CMC, CaPNPs-PAA และ CaPNPs-citrate ซึ่งเป็นอนุภาคที่ทำให้เสถียรด้วย CMC, PAA และ ไอออนซิเตรท ตามลำดับ อนุภาคทุกชนิดมีลักษณะเป็นสารแขวนลอยค่อนข้างขุ่นอยู่ได้ในช่วงเวลา 2-5 ชั่วโมงก่อนตกตะกอน จากการวิเคราะห์ด้วยการกระเจิงแสงแบบไดนามิกส์พบว่า CaPNPs-CMC (200+7 นาโนเมตร) และ CaPNPs-PAA (345±85 นาโนเมตร) มีขนาดเล็กกว่า CaPNPs-citrate (688±370 นาโนเมตร). ค่าศักย์ซีต้าของ CaPNPs-CMC (-31.2±0.6 มิลลิโวลต์) และ CaPNPs-PAA (-41.0±0.8 มิลลิโวลต์) มีความเป็นลบมากกว่าของ CaPNPs-citrate (-15.4±0.7 มิลลิโวลต์) ทำให้อนุมานได้ว่าอนุภาค 2 ประเภทแรกมีเสถียรภาพมากกว่าประเภทหลัง การตอนจูเกตกับ BSA ทำให้อนุภาคเล็กลงยกเว้นในกรณีของ CaPNPs-CMC ค่าศักย์ซีต้ามีความเป็นลบลดลงหลังจากการคอนจูเกตกับ BSA การวิเคราะห์ด้วยฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรสโกบีช่วยยืนยันการมีอยู่ของ CMC รอบอนุภาค CaPNPs-CMC และการเกิดพันธะเอไมด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลของ CMC บนอนุภาค CaPNPs-CMC กับหมู่แอมิโนของ BSA และจากการวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงให้เห็นว่าอนุภาค CaPNPs-CMC ทั้งก่อนและหลังคอนจูเกตกับ BSA มีลักษณะเป็นทรงกลม และมีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 21.02±4.06 และ 30.54±6.84 นาโนเมตร ตามลำดับ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
An original goal of this research is to develop calcium phosphate nanoparticles (CaPNPs) conjugated with a monoclonal antibody specific to RANKL or anti-RANKL to be used as anti-RANKL carriers to inhibit Osteoclastogenesis. Due to the time limitation, a scope of this research was narrowed down. The research only focused on the synthesis of CaPNPs using carboxyl-containing polymers, namely carboxymethyl cellulose (CMC) and poly(acrylic acid) (PAA) as stabilizers. The synthesized CaPNPs were then conjugated with bovine serum albumin (BSA), a model protein. By using co-precipitation method, 3 types of CaPNPs were synthesized. CaPNPs-CMC, CaPNPs-PAA, and CaPNPs-citrate are the particles stabilized by CMC, PAA, and citrate, respectively. All particles remain as opaque suspension for up to 2-5 h before precipitation. As determined by dynamic light scattering, CaPNPs-CMC (200±7 nm), and CaPNPs-PAA (346±85 nm) are much small than CaPNPs-citrate (688±370 nm). The zeta potential values of CaPNPs-CMC (-31.2±0.6 mV) and CaPNPs-PAA(-41.0±0.8 mV) are much more negative than that of CaPNPs-citrate (-15.4±0.7 mV) implying the first two are more stable than the latter. BSA conjugation caused the particles to be smaller in size, except CaPNPs-CMC. The zeta potential values became less negative as a result of BSA conjugation. Fourier transform-infrared spectroscopy can be used to confirm the presence of CMC surrounding CaPNPs-CMC and the amide bond formation between carboxyl groups of CMC on the CaPNPs-CMC and BSA. Scanning electron microscopic analysis verified that CaPNPs-CMC both before and after BSA conjugation were spherical having a diameter of 21.02±4.06 and 30.54±6.84 nm, respectively. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อนุภาคนาโน |
en_US |
dc.subject |
แคลเซียมฟอสเฟต |
en_US |
dc.subject |
โพลิเมอร์ |
en_US |
dc.subject |
Nanoparticles |
en_US |
dc.subject |
Calcium phosphate |
en_US |
dc.subject |
Polymer |
en_US |
dc.title |
อนุภาคนาโนแคลเซียมฟอสเฟตทำให้เสถียรด้วยพอลิเมอร์ที่มีหมู่คาร์บอกซิลและการคอนจูเกตกับสารชีวโมเลกุล |
en_US |
dc.title.alternative |
Calcium Phosphate Nanoparticles Stabilized by Carboxyl containing Polymer and Their Conjugation with Biomolecule |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |