Abstract:
โรคพยาธิใบไม้ตับ Opisthochiasis คือโรคที่มีการติดเชื้อจากการที่ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง หรืออุดตันจากไข่และตัวของพยาธิ มีสาเหตุมาจากพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ที่กระจายตัวอย่างมากในประเทศไทยและประเทศลาว โดยมีวงจรชีวิตเป็นปรสิตที่จำเพาะกับหอยฝาเดียวน้ำจืดสกุล Bithynia ซึ่งเป็นโฮสต์ตัวกลางชนิดแรก การควบคุมประชากรโฮสต์ตัวกลางของพยาธิ โดยใช้ตัวควบคุมทางชีวภาพแทนการควบคุมโดยสารเคมี จึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยและลดโอกาสเสี่ยงการติดโรคในมนุษย์ วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือเพื่อคัดเลือกตัวควบคุมทางชีวภาพที่มีแนวโน้มในการก่อโรคและควบคุมปริมาณหอยฝาเดียวน้ำจืดสกุล Bithynia โดยเก็บตัวอย่างหอยฝาเดียวน้ำจืด B. siamensis siamensis จากแหล่งน้ำในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นำมาเลี้ยงจนกระทั่งได้ไข่ โดยสิ่งมีชีวิตที่พบในซากหอยที่ตายคือโรติเฟอร์วงศ์ Philodinidae โดยสังเกตจากลักษณะ การมี corona ที่มี cilia 2 แผ่น และซิลิเอตสกุล Tetrahymena โดยสังเกตจาก ร่องปาก (cytostome) อยู่ค่อนมาทางหน้าของเซลล์ จึงทำการแยกให้เหลือสายพันธุ์เดียว (monoculture) และทดสอบอาหารที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิต โดยเลี้ยงในน้ำต้มฟางที่ใส่ยีสต์ รวมไปถึงแยกสาหร่ายที่เป็นอาหารของโรติเฟอร์ โดยวิธีการ streak บน BG-11 agar medium และ เลี้ยงเพิ่มจำนวนด้วย BG-11 liquid medium ก่อนนำไป streak บน BG-11 agar medium ผลการศึกษาพบว่าพบว่าในน้ำต้มฟางโรติเฟอร์ และซิลิเอตเจริญได้ดีในน้ำต้มฟาง แต่โรติเฟอร์ไม่เจริญในสาหร่าย จากการวิเคราะห์ผลของ Kruskal Wallis test พบว่าทั้งโรติเฟอร์ และซิลิเอตในแต่ละความเข้มข้นให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับชุดควบคุม และจากการวิเคราะห์ผลของ log rank test พบว่าเฉพาะโรติเฟอร์ชุดความเข้มข้น 100 ตัวต่อมิลลิลิตร ที่มีอัตราการรอดของหอยแตกต่างจากความเข้มข้นอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ซิลิเอตแต่ละความเข้มข้นให้ผลที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยนอกจากจะใช้ผลการศึกษาในครั้งนี้ เป็นฐานข้อมูลตัวควบคุมทางชีวภาพในการควบคุมประชากรของหอยฝาเดียวน้ำจืดสกุล Bithynia และยังอาจจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์นำต่อไปได้