DSpace Repository

การคัดเลือกแบคทีเรียที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์แบบไมคอร์ไรซาจากดินไร่อ้อย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฏฐ์ ทรงวรวิทย์
dc.contributor.advisor จิตรตรา เพียภูเขียว
dc.contributor.author ทัดดาว จันทร์บาง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-18T02:13:07Z
dc.date.available 2022-05-18T02:13:07Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78612
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยอาศัยจุลินทรีย์วิธีการหนึ่งคือ การนำแบคทีเรียที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (PGPB) และมีคุณสมบัติสนับสนุนการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยระหว่างราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซากับพืช (MHB) มาผสมรวมกับหัวเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างรากับพืช ส่งผลให้พืชมีการเจริญเติบโตและทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการคัดเลือกแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติดังกล่าว โดยแยกแบคทีเรียจากสปอร์ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาแบบ glomoid ที่พบในดินไร่อ้อยจำนวน 3 แปลง ในจังหวัดนครปฐม โดยสามารถแยกแบคทีเรียได้จำนวน 38 ไอโซเลท และได้ทำการทดสอบลักษณะการเป็น PGPB ได้แก่ การสร้างฮอร์โมนพืชในกลุ่มออกซิน (indole-3-acetic acid: IAA) การสร้างแอมโมเนียม การสร้างสารในกลุ่ม siderophore การละลายฟอสเฟต และการสร้างไบโอฟิล์ม พบว่าแบคทีเรียแต่ละไอโซเลทมีลักษณะของการเป็น PGPB ที่แตกต่างกัน โดยแบคทีเรียที่มีลักษณะการเป็น PGPB อย่างน้อย 4 ลักษณะ มีจำนวน 14 ไอโซเลท (36.84 เปอร์เซ็นต์ของแบคทีเรียทั้งหมดที่แยกได้) แบคทีเรียที่สามารถสร้าง IAA มีปริมาณสูงที่สุดคือไอโซเลท NP204 ที่ปริมาณ 51.44±1.75 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แบคทีเรียที่สามารถสร้างแอมโมเนียได้ความเข้มข้นสูงที่สุดคือไอโซเลท NP312 ที่ความเข้มข้น 105.76±5.98 ไมโครโมลต่อมิลลิลิตร แบคทีเรียที่สามารถสร้างสารกรดซาลิซิลิคซึ่งเป็นสารในกลุ่ม siderophore ได้สูงที่สุดคือไอโซเลท NP115 ที่ความเข้มข้น 228.82±3.12 ไมโครโมลต่อมิลลิลิตร แบคทีเรียที่มีค่าของดัชนีการละลายฟอสเฟตสูงที่สุดคือไอโซเลท NP312 ที่ค่า 3.20±0.12 และแบคทีเรียที่สามารถสร้างไบโอฟิลม์มีจำนวน 7 ไอโซเลท ได้แก่ NP107, NP109, NP112, NP303, NP305, NP309 และ NP312 และเมื่อนำแบคทีเรียที่เป็น PGPB มาทดสอบลักษณะการเป็น MHB โดยสังเกตจากความสามารถในการกระตุ้นการงอกของสปอร์ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา พบว่าภายในเวลา 7 วัน มีเพียงแบคทีเรียไอโซเลท NP204 และ NP312 ที่สามารถกระตุ้นการงอกสปอร์ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่มาจากแปลงไร่อ้อยได้ทั้ง 3 แปลง และให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด โดยที่ไอโซเลท NP204 เป็นแบคทีเรียแกรมบวกและ NP312 เป็นแบคทีเรียแกรมลบ จากผลการศึกษานี้จึงสามารถคัดเลือกแบคทีเรียที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์แบบไมคอร์ไรซาในดินไร่อ้อยได้ 2 ไอโซเลท นั่นคือ NP204 และ NP312 ซึ่งเหมาะต่อการนำไปพัฒนาเป็นหัวเชื้อชีวภาพทางการเกษตรต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative One way to increase agricultural productivity by using microbes is the use of plant growth promoting bacteria (PGPB) with properties of mycorrhizal helper bacteria (MHB) combining with arbuscular mycorrhizal fungi (AMF) in order to enhance symbiotic association between fungi and plants. This can improve plant growth and tolerance under inappropriate conditions. Therefore, this study aimed to screen bacteria with these properties by isolating them from glomoid spores of AMF found in soil of three sugarcane fields in Nakhon Pathom Province, Thailand. A total of 38 bacterial isolates was obtained and then they were evaluated for their plant growth promoting (PGP) abilities, including the production of auxin hormones (indole-3-acetic acid: IAA), ammonia, siderophore, phosphate solubilization and biofilm production. The results showed that 14 bacterial isolates (36.84% of the total isolates) had at least four PGP activities. The isolate that produced the highest amount of IAA was NP204 with the production of IAA of 51.44±1.75 μg/ml. For ammonia production, NP312 had the highest amount of ammonia production at the concentration of 105.76±5.98 μmol/ml. NP115 was the isolate that produced the highest amount of salicylic at the concentration of 228.82±3.12 μmol/ml. For phosphate solubilization, NP312 had the highest of phosphate solubilization index at 3.20±0.12. Moreover, biofilm production was detected in only 7 bacterial isolates, i.e. NP107, NP109, NP112, NP303, NP305, NP309 and NP312. Bacteria with PGP properties were then tested for MHB from the ability to stimulate AMF spore germination. Only NP204 and NP312 were able to stimulate spore germination of AMF from all 3 sugarcane fields within 7 days and also yielded the highest spore germination percentage. NP204 was gram-positive bacteria and NP312 was gram-negative bacteria. These results suggest that these two bacterial isolates have a potential to further develop for inoculum production using in agriculture. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เชื้อราไมคอร์ไรซา en_US
dc.subject พืช -- จุลชีววิทยา en_US
dc.subject Mycorrhizal fungi en_US
dc.subject Plants -- Microbiology en_US
dc.title การคัดเลือกแบคทีเรียที่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์แบบไมคอร์ไรซาจากดินไร่อ้อย en_US
dc.title.alternative Screening of mycorrhizal helper bacteria from sugarcane soil of sugarcane field en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record