dc.contributor.advisor |
วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล |
|
dc.contributor.author |
ปนัสยา ถากว้าง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-18T05:59:50Z |
|
dc.date.available |
2022-05-18T05:59:50Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78619 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
Saccharomyces cerevisiae เป็นยีสต์ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความสามารถในการผลิตเอทานอลและผลิตสารประกอบประเภทไขมันที่มีมูลค่าทางการตลาด โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไขมันของยีสต์ S. cerevisiae สายพันธุ์ TPD2 โดยการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายแบบสุ่มด้วยวิธีการฉายรังสีอัลตราไวโอเลต และคัดเลือกยีสต์สายพันธุ์กลายด้วย cerulenin ผลการทดลองเมื่อฉายรังสีเป็นระยะเวลา 9 - 25 นาที พบยีสต์ที่มีอัตรารอดน้อยกว่าร้อยละ 5 จำนวน 109 ไอโซเลท จากนั้นคัดเลือกยีสต์สายพันธุ์กลายโดยนำมาเลี้ยงบนอาหารแข็ง yeast-extract-peptone ผสม cerulenin และทำการคัดเลือกยีสต์ที่เจริญบนอาหารดังกล่าวแบบสุ่ม เพื่อนำมาทดสอบต่อไป จากผลการทดลองสามารถคัดแยก S. cerevisiae สายพันธุ์ TPD2 สายพันธุ์กลายได้ 1 ไอโซเลท คือ S. cerevisiae สายพันธุ์กลาย CE9.5 โดยมีร้อยละปริมาณน้ำมันต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง (ร้อยละ 9.37 ± 0.19) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.25 อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม (ร้อยละ 11.62 ± 1.23) จากผลการวิเคราะห์ชนิดกรดไขมัน พบว่ายีสต์ S. cerevisiae สายพันธุ์กลาย CE9.5 มีการสร้างกรดไขมันชนิดโอเลอิก (C18:1), กรดปาล์มิโตเลอิก (C16:1), กรดปาล์มิติก (C16:0) และกรดสเตียริก (C18:0) เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้พบกรดไขมันชนิดไมริสติก (C14:0) ด้วย (ร้อยละ 0.51 ± 0.02) เมื่อทำการวิเคราะห์ลำดับเบสในยีน acetyl-CoA carboxylase (ACC1) ซึ่งเป็นยีนที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์กรดไขมัน พบว่า S. cerevisiae สายพันธุ์กลาย CE9.5 มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่เบส 2 ตำแหน่งคือ G3477T และ G3484T |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Saccharomyces cerevisiae is widely applied in the industrial sectors because of its capability of ethanol production as well as synthesis of value-added oleochemical products. The objective of this study is to increase the potential of lipid production in S. cerevisiae strain TPD2 through induced random mutagenesis using ultraviolet radiation (UV) and mutant selection by cerulenin. After 9 - 25 minutes irradiation, the survival rate was less than 5 % with 109 colonies. Mutants showing the growth on yeast-extract-peptone agar supplemented with cerulenin were selected as a promising candidate for further studies. From that strategy, only one mutant of S. cerevisiae strain TPD2, namely mutant CE9.5 was selected. The lipid content produced by mutant CE9.5 (11.62 ± 1.23 %) was higher than the wild type strain (9.37 ± 0.19%). The major fatty acids produced by the mutant were oleic acid (C18:1), palmitoleic acid (C16:1), palmitic acid (C16:0), stearic acid (C18:0), and myristic acid (14:0) (0.51 ± 0.02%). Based on DNA sequencing of acetyl-CoA carboxylase (ACC1) gene, which is essential for fatty acid synthesis, it was found that S. cerevisiae mutant strain CE9.5 had base substitution at G3477T and G3484T, respectively. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ยีสต์ |
en_US |
dc.subject |
กรดไขมัน |
en_US |
dc.subject |
Yeast |
en_US |
dc.subject |
Fatty acids |
en_US |
dc.title |
การเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายแบบสุ่มของยีสต์ Saccharomyces cerevisiae เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไขมันโดยรังสีอัลตราไวโอเลต |
en_US |
dc.title.alternative |
Randomization mutagenesis of Saccharomyces cerevisiae to increase lipid production by ultraviolet radiation |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |