Abstract:
การสังเคราะห์แผ่นนาโนเงินโดยใช้กระบวนการรีดักชันด้วยวิธีทางเคมีในแต่ละครั้งให้มีค่าการดูดกลืนแสง สูงสุดในช่วง 750–800 นาโนเมตร นั้นยังไม่มีความแน่นอน จึงจำเป็นต้องทดลองหาตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลในการ ควบคุมให้การสังเคราะห์แผ่นนาโนเงินมีความแม่นยำมากขึ้น เริ่มจากการสังเคราะห์อนุภาคระดับนาโนเมตร ของโลหะเงินโดยการใช้ซิลเวอร์ไนเตรตเป็นเกลือของโลหะเงิน โซเดียมโบโรไฮไดรด์เป็นตัวรีดิวซ์ และแป้งเป็น สารช่วยเสถียร ได้คอลลอยด์ของอนุภาคระดับนาโนเมตรของโลหะเป็นสีเหลืองและมีค่าการดูดกลืนแสงอยู่ ในช่วง 398–400 นาโนเมตร โดยรูปร่างของอนุภาคเป็นทรงกลม คอลลอยด์นี้นำไปเป็นสารตั้งต้นในการ สังเคราะห์แผ่นนาโนเงิน โดยการเติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อไปออกซิไดส์อนุภาคระดับนาโนเมตรของ โลหะเงินให้เป็นไอออนของเงินและในสภาวะนี้ไอออนของเงินจะถูกรีดิวซ์ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำให้ ขนาดและรูปร่างของอนุภาคเปลี่ยนแปลงไป จากการศึกษาผลของอุณหภูมิของคอลลอยด์ที่ทำปฏิกิริยา พบว่า เมื่ออุณหภูมิคอลลอยด์สูงขึ้น จะทำให้ได้การดูดกลืนแสงเกิดขึ้นที่ความยาวคลื่นที่สั้นลง จากนั้นศึกษาผลของ ปริมาตรของคอลลอยด์ที่ใช้ พบว่าเมื่อปริมาตรคอลลอยด์เพิ่มขึ้น จะทำให้ได้การดูดกลืนแสงเกิดขึ้นที่ความยาว คลื่นที่สั้นลง แสดงให้เห็นว่าการควบคุมอุณหภูมิและปริมาตรของคอลลอยด์เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการ สังเคราะห์แผ่นนาโนเงินที่มีค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดในช่วง 750–800 นาโนเมตร ให้มีความแม่นยำมากขึ้น ดังนั้น ควรควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แผ่นนาโนเงิน ตั้งแต่ควบคุมการสังเคราะห์อนุภาคเริ่มต้นให้ เหมือนเดิมทุกครั้ง ใช้อัตราส่วนเดิมในการสังเคราะห์แผ่นนาโนเงิน และควบคุมอุณหภูมิและปริมาตรของ คอลลอยด์ให้มีความเหมาะสม จากข้อเสนอแนะข้างต้นจะได้สภาวะที่สามารถสังเคราะห์แผ่นนาโนเงินที่มีค่า การดูดกลืนแสงสูงสุดในช่วง 750–800 นาโนเมตร ได้ทุกครั้ง