dc.contributor.advisor | พร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม | |
dc.contributor.advisor | ณัฐพล คุปต์เสถียรวงศ์ | |
dc.contributor.author | ธีรศิลป์ จิตพลี | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-05-20T06:49:51Z | |
dc.date.available | 2022-05-20T06:49:51Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78639 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | การสังเคราะห์แผ่นนาโนเงินโดยใช้กระบวนการรีดักชันด้วยวิธีทางเคมีในแต่ละครั้งให้มีค่าการดูดกลืนแสง สูงสุดในช่วง 750–800 นาโนเมตร นั้นยังไม่มีความแน่นอน จึงจำเป็นต้องทดลองหาตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลในการ ควบคุมให้การสังเคราะห์แผ่นนาโนเงินมีความแม่นยำมากขึ้น เริ่มจากการสังเคราะห์อนุภาคระดับนาโนเมตร ของโลหะเงินโดยการใช้ซิลเวอร์ไนเตรตเป็นเกลือของโลหะเงิน โซเดียมโบโรไฮไดรด์เป็นตัวรีดิวซ์ และแป้งเป็น สารช่วยเสถียร ได้คอลลอยด์ของอนุภาคระดับนาโนเมตรของโลหะเป็นสีเหลืองและมีค่าการดูดกลืนแสงอยู่ ในช่วง 398–400 นาโนเมตร โดยรูปร่างของอนุภาคเป็นทรงกลม คอลลอยด์นี้นำไปเป็นสารตั้งต้นในการ สังเคราะห์แผ่นนาโนเงิน โดยการเติมไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อไปออกซิไดส์อนุภาคระดับนาโนเมตรของ โลหะเงินให้เป็นไอออนของเงินและในสภาวะนี้ไอออนของเงินจะถูกรีดิวซ์ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำให้ ขนาดและรูปร่างของอนุภาคเปลี่ยนแปลงไป จากการศึกษาผลของอุณหภูมิของคอลลอยด์ที่ทำปฏิกิริยา พบว่า เมื่ออุณหภูมิคอลลอยด์สูงขึ้น จะทำให้ได้การดูดกลืนแสงเกิดขึ้นที่ความยาวคลื่นที่สั้นลง จากนั้นศึกษาผลของ ปริมาตรของคอลลอยด์ที่ใช้ พบว่าเมื่อปริมาตรคอลลอยด์เพิ่มขึ้น จะทำให้ได้การดูดกลืนแสงเกิดขึ้นที่ความยาว คลื่นที่สั้นลง แสดงให้เห็นว่าการควบคุมอุณหภูมิและปริมาตรของคอลลอยด์เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการ สังเคราะห์แผ่นนาโนเงินที่มีค่าการดูดกลืนแสงสูงสุดในช่วง 750–800 นาโนเมตร ให้มีความแม่นยำมากขึ้น ดังนั้น ควรควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์แผ่นนาโนเงิน ตั้งแต่ควบคุมการสังเคราะห์อนุภาคเริ่มต้นให้ เหมือนเดิมทุกครั้ง ใช้อัตราส่วนเดิมในการสังเคราะห์แผ่นนาโนเงิน และควบคุมอุณหภูมิและปริมาตรของ คอลลอยด์ให้มีความเหมาะสม จากข้อเสนอแนะข้างต้นจะได้สภาวะที่สามารถสังเคราะห์แผ่นนาโนเงินที่มีค่า การดูดกลืนแสงสูงสุดในช่วง 750–800 นาโนเมตร ได้ทุกครั้ง | en_US |
dc.description.abstractalternative | Each synthesis of silver nanoplates by chemical reduction to obtain the absorbance in the range of 750–800 nanomates was not precisied. Therefore, experiments were performed to find parameters for controlling the precise synthesis of silver nanoplates. Synthesis of silver nanoparticles, using silver nitrate as a metal salt, sodium borohydride as a reducing agent, and starch as a stabilizer, provided a yellow colloid of spherical silver nanoparticles with an absorbance in the range 398–400 nanometers. This colloid was used as a precursor to produce silver nanoplates. In this process, spherical silver nanoparticles was oxidized by hydrogen peroxide into silver ions and, in this state, silver ions was reduced by hydrogen peroxide to form silver nanoplates. Therefore, size and shape of nanoparticles were changed. From the study, when the temperature of spherical silver nanoparticles was increased, the absorption wavelength of silver nanoplates shifted to shorter wavelength. Next, when the volume of spherical silver nanoparticles was increased, the absorption wavelength of siver nanoplates shifted to shoter wavelength. It was shown that the control of temperature and volume of silver nanoparticles was important parameter, for the precise synthesis of silver nanoplates with the absorbance in the range 750–800 nanometers. Acordingly, the factors affecting the synthesis of silver nanoplates should be controlled, for example, controlling the initial spherical silver nanoparticles to be the same every time, using the original ratio for the synthesis of silver nanoplates and controlling the temperature and volume of spherical silver nanoparticles. These suggestions provided a condition that can produce silver nanoplates with the absorbance in the range 750–800 nanometers every time. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อนุภาคนาโน -- การสังเคราะห์ | en_US |
dc.subject | เงิน | en_US |
dc.subject | Nanoparticles -- Synthesis | en_US |
dc.subject | Silver | en_US |
dc.title | การควบคุมตัวแปรสำหรับการสังเคราะห์ที่แม่นยำของแผ่นนาโนเงินที่มีแป้งเป็นสารช่วยเสถียร | en_US |
dc.title.alternative | Controlling of parameter for the precise synthesis of starch-capped silver nanoplates | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |