Abstract:
ถ้วยกระดาษจุฬาซีโร่เวสต์เป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผลิตขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ขยะพลาสติกภายในมหาวิทยาลัย โดยกระดาษจะถูกเคลือบด้วยพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (PBS) ซึ่งเป็นพลาสติก ชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้เอง ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างจากถ้วยกระดาษทั่วไปที่เคลือบ ด้วยพอลิเอทิลีน (PE) ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้เอง เมื่อมีการใช้ถ้วยกระดาษจุฬาซีโร่เวสต์มากขึ้น ทำให้ปริมาณ ขยะจากถ้วยกระดาษเพิ่มขึ้นตาม คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำถ้วยกระดาษจุฬาซีโร่เวสต์มาผ่าน กระบวนการรีไซเคิล เปรียบเทียบกับการรีไซเคิลถ้วยกระดาษทั่วไปที่เคลือบด้วยพอลิเอทิลีน โดยการทดลองแบ่ง ออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นการหาภาวะที่เหมาะสมในการตีกระจายเยื่อจากถ้วยกระดาษ ได้เยื่อจากการตี กระจายทั้งหมด 4 ภาวะที่แตกต่างกันในแต่ละชนิดกระดาษ พบว่า ปริมาณเยื่อที่ได้หลังจากการตีกระจายในแต่ละ ภาวะ ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากในกระดาษทั้ง 2 ชนิด ในตอนที่ 2 ผู้วิจัยจึงเลือกเยื่อจากภาวะที่มีความรุนแรง ต่ำที่สุดและสูงที่สุด มาวัดสัณฐานวิทยาของเส้นใยและนำไปขึ้นเป็นแผ่นกระดาษ จากนั้นได้ทดสอบสมบัติกระดาษ ทั้งหมด 7 สมบัติ และในตอนที่ 3 ได้นำเยื่อที่ได้จากการตีกระจายในภาวะที่มีความรุนแรงต่ำที่สุดของกระดาษทั้ง 2 ชนิดมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์เยื่อขึ้นรูป โดยการนำกระชอนสแตนเลสมาประกบเยื่อไว้ จากการทดลองทั้งหมด สามารถสรุปได้ว่า กระดาษที่เคลือบด้วยพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต เมื่อถูกรีไซเคิลแล้ว ให้คุณภาพของเยื่อกระดาษที่ ดีกว่า เส้นใยมีความแข็งแรงมากกว่า ในขณะที่กระดาษที่เคลือบด้วยพอลิเอทิลีนไม่เหมาะกับการฝังกลบแต่เหมาะ กับการนำไปรีไซเคิล ขึ้นรูปเป็นแผ่นกระดาษใหม่ เนื่องจากมีแนวโน้มของค่าการทดสอบสมบัติต่าง ๆ ไปในทิศทาง