Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78679
Title: ความสามารถในการรีไซเคิลของถ้วยกระดาษจุฬาซีโร่เวสต์
Other Titles: Recyclability of Chula Zero Waste Paper Cup
Authors: จิราวรรณ สุนันทะนาม
นภัสวรรณ อาซาโนะ
Advisors: กุนทินี สุวรรณกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ผลิตภัณฑ์กระดาษ -- การนำกลับมาใช้ใหม่
Paper products -- Recycling (Waste, etc.)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ถ้วยกระดาษจุฬาซีโร่เวสต์เป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผลิตขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ขยะพลาสติกภายในมหาวิทยาลัย โดยกระดาษจะถูกเคลือบด้วยพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต (PBS) ซึ่งเป็นพลาสติก ชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้เอง ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างจากถ้วยกระดาษทั่วไปที่เคลือบ ด้วยพอลิเอทิลีน (PE) ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้เอง เมื่อมีการใช้ถ้วยกระดาษจุฬาซีโร่เวสต์มากขึ้น ทำให้ปริมาณ ขยะจากถ้วยกระดาษเพิ่มขึ้นตาม คณะผู้วิจัยจึงได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำถ้วยกระดาษจุฬาซีโร่เวสต์มาผ่าน กระบวนการรีไซเคิล เปรียบเทียบกับการรีไซเคิลถ้วยกระดาษทั่วไปที่เคลือบด้วยพอลิเอทิลีน โดยการทดลองแบ่ง ออกเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นการหาภาวะที่เหมาะสมในการตีกระจายเยื่อจากถ้วยกระดาษ ได้เยื่อจากการตี กระจายทั้งหมด 4 ภาวะที่แตกต่างกันในแต่ละชนิดกระดาษ พบว่า ปริมาณเยื่อที่ได้หลังจากการตีกระจายในแต่ละ ภาวะ ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากในกระดาษทั้ง 2 ชนิด ในตอนที่ 2 ผู้วิจัยจึงเลือกเยื่อจากภาวะที่มีความรุนแรง ต่ำที่สุดและสูงที่สุด มาวัดสัณฐานวิทยาของเส้นใยและนำไปขึ้นเป็นแผ่นกระดาษ จากนั้นได้ทดสอบสมบัติกระดาษ ทั้งหมด 7 สมบัติ และในตอนที่ 3 ได้นำเยื่อที่ได้จากการตีกระจายในภาวะที่มีความรุนแรงต่ำที่สุดของกระดาษทั้ง 2 ชนิดมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์เยื่อขึ้นรูป โดยการนำกระชอนสแตนเลสมาประกบเยื่อไว้ จากการทดลองทั้งหมด สามารถสรุปได้ว่า กระดาษที่เคลือบด้วยพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต เมื่อถูกรีไซเคิลแล้ว ให้คุณภาพของเยื่อกระดาษที่ ดีกว่า เส้นใยมีความแข็งแรงมากกว่า ในขณะที่กระดาษที่เคลือบด้วยพอลิเอทิลีนไม่เหมาะกับการฝังกลบแต่เหมาะ กับการนำไปรีไซเคิล ขึ้นรูปเป็นแผ่นกระดาษใหม่ เนื่องจากมีแนวโน้มของค่าการทดสอบสมบัติต่าง ๆ ไปในทิศทาง
Other Abstract: Chula zero-waste cup is a paper container which Chulalongkorn University invented to solve the plastic waste problem in the University. This environmentally friendly paper cup is made of paper coated with polybutylene succinate (PBS) which is a biodegradable plastic, as opposed to polyethylene (PE) which is not biodegradable. As Chula zero-waste cup is widely used, more paper waste is produced. This research aimed to study the feasibility of recylcing Chula zerowaste cup and compared it to commercial Polyethylene coated paper cup. The experiment was done in three steps. First, the best condition to disintegrate the pulp from the paper cup was determined. It was found that the pulp yield obtained from different conditions did not differ much in both types of coated paper. The pulp obtained from mild and harsh conditions were then selected for the second step where fiber morphology was studied and handsheets were made. The handsheets were tested for seven paper properties. For the last step, the pulp from PBS coated paper and PE coated paper disintegrated in the mild condition were formed into molded pulp product by engaging the pulp between two stainless steel colanders. From the experiments, we can conclude that the pulp obtained from the PBS coated cup gives stronger fibers, but its overall recycled paper properties are weaker than those from the recycled PE cup. So, Chula zero-waste cup, despite its stronger fibers, is more suitable for landfill comparing to the PE coated cup which could be recycled to produce better quality paper.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78679
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-IMAGE-002 - Napaswan Asano.pdf39.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.