DSpace Repository

การผลิตกระดาษจากเปลือกส้มโอ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพร ชัยอารีย์กิจ
dc.contributor.author พัชรพล จันทร์เพ็ญ
dc.contributor.author ศิรา ชวลิตรุจิวงษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-01T03:02:20Z
dc.date.available 2022-06-01T03:02:20Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78684
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract โครงการการเรียนการสอนเพื่อเสริมประสบการณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตและพัฒนากระดาษจากเยื่อเปลือกส้มโอ โดยใช้กระบวนการต้มเยื่อแบบโซดา ซึ่งใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide, NaOH) เป็นสารเคมีในการต้มเยื่อ ในการทดลองนี้ได้ใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นต่างกันสองระดับ ได้แก่ร้อยละ 10 และ 20 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง ที่ระยะเวลาในการต้ม 1 ชั่วโมง อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียสสำหรับเยื่อที่ต้มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 20 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง และที่ระยะเวลาในการต้ม 2 ชั่วโมง อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส สำหรับเยื่อที่ต้มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 10 และ 20 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง จากนั้นนำเยื่อที่เตรียมได้มาหาค่าสภาพระบายได้ (Freeness) และคำนวณปริมาณผลผลิตที่ได้ (%Yield) นำเยื่อไปวัดลักษณะสัณฐานวิทยาของเส้นใยด้วยเครื่องวิเคราะห์เส้นใย (Fiber Quality Analyzer, FQA) เพื่อหาความแตกต่างของเส้นใยที่ต้มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่สภาวะแตกต่างกัน จากนั้นนำเยื่อมาขึ้นแผ่นทดสอบ (แผ่นกระดาษ) และนำแผ่นทดสอบที่ได้ไปทดสอบทางกายภาพของกระดาษ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของกระดาษที่ผลิตจากเยื่อเปลือกส้มโอที่สภาวะต่างกัน ผลการศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเยื่อพบว่า เยื่อที่นำมาต้มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 20 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 2 ชั่วโมง เมื่อนำมาขึ้นแผ่นจะได้กระดาษที่มีความแข็งแรงต่อแรงดึง ความแข็งแรงต่อแรงดันทะลุ และความต้านทานแรงฉีกมากที่สุด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเยื่อมีสัณฐานวิทยาของเส้นใยที่ดีกว่าการต้มเยื่อด้วยสภาวะอื่น ๆ จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าการต้มเยื่อจากเปลือกส้มโอโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ร้อยละ 20 ของน้ำหนักเยื่อแห้ง ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลา 2 ชั่วโมง เป็นสภาวะการต้มเยื่อที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทดลองนี้ en_US
dc.description.abstractalternative This senior project was aimed to study the production and development of paper from pomelo peel. The project was started by pulping pomelo peel using soda process which utilizes Sodium Hydroxide (NaOH) as a pulping reagent. NaOH was employed at 2 dosage levels which were 10% and 20% based on oven dried (O.D.) pulp weight. Pulping was done for 1 hour at 160 °C for the case of using 20% NaOH. Also, pulping was completed for 2 hours at 100 °C for the case of using 10% and 20% NaOH. After pulping process was over, % pulp yield and pulp freeness were determined. Fiber morphology of each pulp were also examined using a fiber quality analyzer (FQA) to observe any difference of pulp fibers prepared from different pulping conditions. Handsheets were also made and tested for physical properties to find the effects of different pulping conditions on paper properties. It was found that Pulping with 20% NaOH at 100 °C for 2 hours provided handsheet with highest tensile strength, burst strength and tear resistance. This might be because better fiber morphology was obtained from this pulping condition and this NaOH dosage. Thus, it could be concluded that pulping of pomelo peel with 20% NaOH at 100 °C for 2 hours is the most suitable condition for this research work. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กระดาษ -- การผลิต en_US
dc.subject เยื่อกระดาษ en_US
dc.subject ส้มโอ en_US
dc.subject Paper -- Production en_US
dc.subject Wood-pulp en_US
dc.subject Pummelo en_US
dc.title การผลิตกระดาษจากเปลือกส้มโอ en_US
dc.title.alternative Papermaking from Pomelo Peel en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record