Abstract:
น้ำเสียจากโรงงานแปรรูปมะพร้าวมีค่าซีโอดีสูง จึงสามารถนำน้ำเสียดังกล่าวมาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนของแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงชนิดไม่สะสมกำมะถันได้ แบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถเจริญได้ในสภาวะที่มีอากาศและไม่มีอากาศ ทั้งยังผลิตสารที่สำคัญหลายอย่างได้ เช่น แคโรทีนนอยด์ และแบคเทอริโอคลอโรฟิลล์ ในปัจจุบันแคโรทีนอยด์ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น ยา อาหารเสริม อาหารสัตว์ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อผลิตแคโรทีนอยด์จากแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงชนิดไม่สะสมกำมะถัน โดยใช้น้ำเสียจากโรงงานแปรรูปมะพร้าวเป็นแหล่งคาร์บินเพื่อลดต้นทุนในการผลิตแคโรทีนอยด์ เริ่มแรกผู้วิจัยได้ทดสอบการเจริญของ Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1 เมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อต่างชนิดกันคืออาหารเหลว LB50% และ RCVB เลี้ยงเชื้อภายใต้สภาวะโฟโตเฮเทอโรโทปเป็นเวลา 5 วัน พบว่า ของ Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1 สามารถเจริญในอาหารเหลว RCVB ได้ดีกว่า LB50% เนื่องจากเซลล์แบคทีเรียสร้างสารสีได้มากกว่า จากนั้นจึงนำ ของ Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1 มาตรึงบน Aquaporous gel ขนาด 2 และ 4 กรัม ในขวดดูแรน 250 มิลลิลิตร ที่มีอาหารเหลว RCVB อยู่ 220 มิลลิลิตร เลี้ยงเชื้อภายใต้สภาวะโฟโตเฮเทอโรโทปเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 660 นาโนเมตร พบว่า ของ Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1 สามารถเจริญได้ดีที่สุดเมื่อตรึงด้วยวัสดุตรึงเซลล์ Aquaporous gel 4 กรัม เมื่อได้สภาวะที่เหมาะสมจึงนำมาทดสอบต่อกับตัวอย่างน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปมะพร้าว 3 ชนิด คือ น้ำ soft pH 4, น้ำ soft pH 6-7 และ น้ำเสียจากบ่อบำบัด แล้วได้ทดสอบการเจริญเทียบกับการเจริญของแบคทีเรียชนิดดังกล่าวในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว RCVB ผลการทดลองพบว่าแบคทีเรียดังกล่าวไม่สามารถใช้แหล่งคาร์บอนจากน้ำเสียจากบ่อบำบัดการเจริญได้ อาจเนื่องมาจากสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญ ในอนาคตอาจมีการเพิ่มคาร์บอนจากสารตัวอื่นเข้าไปในน้ำเสียแล้วเปรียบเทียบการเจริญ และวัดปริมาณแคโรทีนอยด์ที่ผลิตได้ในลำดับต่อไป