Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78720
Title: การนำน้ำเสียจากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวมาผลิตแคโรทีนอยด์ด้วย Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1
Other Titles: Utilization of wastewater from coconut processing industry for carotenoids production by Rhodopseudomonas faecalis W1
Authors: ณิชากร รักษาสนธิ์
Advisors: เอกวัล ลือพร้อมชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แคโรทีนอยด์
น้ำเสีย -- การนำกลับมาใช้ใหม่
Carotenoids
Sewage -- Recycling
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: น้ำเสียจากโรงงานแปรรูปมะพร้าวมีค่าซีโอดีสูง จึงสามารถนำน้ำเสียดังกล่าวมาใช้เป็นแหล่งคาร์บอนของแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงชนิดไม่สะสมกำมะถันได้ แบคทีเรียกลุ่มนี้สามารถเจริญได้ในสภาวะที่มีอากาศและไม่มีอากาศ ทั้งยังผลิตสารที่สำคัญหลายอย่างได้ เช่น แคโรทีนนอยด์ และแบคเทอริโอคลอโรฟิลล์ ในปัจจุบันแคโรทีนอยด์ถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น ยา อาหารเสริม อาหารสัตว์ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อผลิตแคโรทีนอยด์จากแบคทีเรียสังเคราะห์แสงสีม่วงชนิดไม่สะสมกำมะถัน โดยใช้น้ำเสียจากโรงงานแปรรูปมะพร้าวเป็นแหล่งคาร์บินเพื่อลดต้นทุนในการผลิตแคโรทีนอยด์ เริ่มแรกผู้วิจัยได้ทดสอบการเจริญของ Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1 เมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อต่างชนิดกันคืออาหารเหลว LB50% และ RCVB เลี้ยงเชื้อภายใต้สภาวะโฟโตเฮเทอโรโทปเป็นเวลา 5 วัน พบว่า ของ Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1 สามารถเจริญในอาหารเหลว RCVB ได้ดีกว่า LB50% เนื่องจากเซลล์แบคทีเรียสร้างสารสีได้มากกว่า จากนั้นจึงนำ ของ Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1 มาตรึงบน Aquaporous gel ขนาด 2 และ 4 กรัม ในขวดดูแรน 250 มิลลิลิตร ที่มีอาหารเหลว RCVB อยู่ 220 มิลลิลิตร เลี้ยงเชื้อภายใต้สภาวะโฟโตเฮเทอโรโทปเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 660 นาโนเมตร พบว่า ของ Rhodopseudomonas faecalis สายพันธุ์ W1 สามารถเจริญได้ดีที่สุดเมื่อตรึงด้วยวัสดุตรึงเซลล์ Aquaporous gel 4 กรัม เมื่อได้สภาวะที่เหมาะสมจึงนำมาทดสอบต่อกับตัวอย่างน้ำเสียจากโรงงานแปรรูปมะพร้าว 3 ชนิด คือ น้ำ soft pH 4, น้ำ soft pH 6-7 และ น้ำเสียจากบ่อบำบัด แล้วได้ทดสอบการเจริญเทียบกับการเจริญของแบคทีเรียชนิดดังกล่าวในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว RCVB ผลการทดลองพบว่าแบคทีเรียดังกล่าวไม่สามารถใช้แหล่งคาร์บอนจากน้ำเสียจากบ่อบำบัดการเจริญได้ อาจเนื่องมาจากสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญ ในอนาคตอาจมีการเพิ่มคาร์บอนจากสารตัวอื่นเข้าไปในน้ำเสียแล้วเปรียบเทียบการเจริญ และวัดปริมาณแคโรทีนอยด์ที่ผลิตได้ในลำดับต่อไป
Other Abstract: Wastewater from coconut processing plants has a high COD value. Therefore, the wastewater can be used as a carbon source for purple non-sulfur bacteria. These bacteria can grow under anaerobic and anaerobic conditions and can also produce many important substances such as carotenoids bacteriochlorophyll. Nowadays, carotenoids are used in many products, such as pharmaceuticals animal feed supplements. This research aims to produce carotenoids from purple non-sulfur bacteria by using wastewater from coconut processing factory as a carbon source to reduce the production costs. Initially, the researcher compared the growth of Rhodopseudomonas faecalis W1 in LB50% and RCVB medium under photoheterotroph condition for 5 days. Rhodopseudomonas faecalis W1 grown in RCVB medium better than LB50% and the bacterial cells produce more red pigments. After that, Rhodopseudomonas faecalis W1 was immobilized on 2 and 4 g Aquaporous gel in a 250 mL Duran bottle containing 220 mL RCVB medium under photoheterotroph for 5 days and then measured the optical density at 660 nm wavelength. Rhodopseudomonas faecalis W1 grown best when immobilized with 4 g Aquaporous gel cell. The optimum condition was tested with wastewater samples from coconut processing factory and compared to RCVB liquid medium. There were 3 types of wastewater samples including soft pH 4 water, soft pH 6-7 water and wastewater from treatment ponds. The results showed that the bacteria could not utilize all wastewater samples for growth. This might be due to the insufficient nutrients. In the future, carbon sources from other substances may be added to the wastewater. The growth and carotenoid yields should be compared later.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78720
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-009 - Nichakorn Ruksason.pdf798.32 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.