dc.contributor.advisor |
วิบูลย์ลักษณ์ พึ่งรัศมี |
|
dc.contributor.advisor |
สรวิศ เผ่าทองศุข |
|
dc.contributor.author |
วันพระ นาคฤทธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-15T09:20:29Z |
|
dc.date.available |
2022-06-15T09:20:29Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78816 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ศึกษาบทบาทของสาหร่ายช่อพริกไทยต่อการเปลี่ยนแปลงสารประกอบอนินทรีย์ไนโตรเจนในถังเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรูปแบบต่างๆ โดยทดลองเลี้ยงสาหร่ายช่อพริกไทยในชุดการทดลองที่ไม่มีชั้นดินและมีชั้นดินสูงจากก้นถัง 5 ซม. และน้ำทะเล 30 พีพีที ปริมาตร 25 ลิตร ที่มีการเติมอาหารปลานิลบดปริมาณ 0.23 กรัม เพื่อเป็นแหล่งสารอินทรีย์ตลอดการทดลอง 61 วัน ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำพบว่าถังชุดควบคุมที่ไม่มีสาหร่าย ไม่มีดิน สภาวะกลางแจ้ง และถังชุดควบคุมที่ไม่มีสาหร่าย ไม่มีดิน สภาวะแสงน้อยจะเกิดการย่อยสลายอาหารปลานิลและได้ผลผลิตเป็นแอมโมเนีย โดยพบการสะสมของแอมโมเนียในน้ำในวันที่ 8 จากนั้นพบการลดลงของไนไทรต์หลังวันที่ 40 โดยผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชันทำให้มีไนเทรตสะสม ส่วนถังที่มีสาหร่ายและสภาวะกลางแจ้งผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายช่อพริกไทย และทำให้สาหร่ายช่อพริกไทยมีบทบาทสำคัญควบคุมคุณภาพน้ำโดยการนำเข้าสู่เซลล์มากกว่าถังที่อยู่ในสภาวะแสงน้อย สำหรับถังที่มีชั้นดินพบไนเทรตสะสมตลอดการทดลองเนื่องจากมีกระบวนการไนตริฟิเคชันและดีไนตริฟิเคชันในชั้นดิน แสดงให้เห็นว่าในถังที่มีดินแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะมีบทบาทในการควบคุมคุณภาพน้ำ สำหรับการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวร่วมกับสาหร่ายช่อพริกไทยและประเมินประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพน้ำ พบว่าในชุดควบคุมที่ไม่มีสาหร่าย ไม่มีดิน สภาวะกลางแจ้ง พบว่ายังมีไนโตรเจนที่ไม่สามารถระบุได้ถึงร้อยละ 44 และสภาวะแสงน้อยมีไนโตรเจนสะสมในน้ำถึงร้อยละ 52 ส่วนในถังมีสาหร่ายและสภาวะกลางแจ้ง พบว่าสาหร่ายช่อพริกไทยสามารถกำจัดไนโตรเจนออกจากระบบเลี้ยงปลากะพงขาวได้เพียงร้อยละ 3 โดยระบบไม่สามารถรองรับการสะสมของไนโตรเจนได้ แม้ว่าแสงจะมีผล ทำให้สาหร่ายช่อพริกไทยมีบทบาทสำคัญในการบำบัดคุณภาพน้ำ ส่วนในถังที่มีสาหร่าย มีดิน สภาวะกลางแจ้ง พบว่าสาหร่ายสามารถกำจัดไนโตรเจนได้เพียงร้อยละ 7 แต่เนื่องจากมีชั้นดินทำให้มีปริมาณแอมโมเนีย ไนไทรต์ ไนเทรต และฟอสเฟตต่ำ สำหรับถังที่มีชั้นดินพบว่ามีการกำจัดไนโตรเจนกระบวนการไนตริฟิเคชันและดีไนตริฟิเคชัน แสดงให้เห็นว่าการที่มีชั้นดินแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจะมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสารอนินทรีย์ไนโตรเจนในน้ำ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This study was investigated the roles of the seaweed C. lentillifera for treatment of inorganic nitrogen compounds in different kinds of aquaculture system. The seaweed was cultured in a plastic container with no soil and contained with soil in which occupied internally by 5 cm thickness of soil and filled with 30 ppt seawater by volume of 25 L. Powdered fish feed was added into all plastic containers as the organic carbon source through the 61 days of the experimental operation. The water quality was evaluated and revealed the same results for the both control operation conditions of outdoor without seaweed and soil and indoor without seaweed and soil. The amount of ammonia quantities in the water was detected from the result of powdered fish feed decomposition by ammonification process. Accordingly, it significantly led the accumulation of ammonia in the water at the 8th days of the experiment. Then the amount of nitrite concentration was rarely detected after the 40th days after that it was turned to be nitrate through nitrification process. In outdoor condition with seaweed, the amount of ammonia quantities founded in water illustrated the major role of seaweed in nitrogen uptake rather than the indoor condition. In the container which contained with soil, the accumulation of nitrate was found because of nitrogen conversion through nitrification and denitrification processes by bacterial culture in sediment. The results clearly illustrated that the natural bacterial culture in soil has the major role in biological nitrogen conversion in aquaculture system. Roles of using C. lentillifera for treatment in Lates calcarifer culture tanks showed that, In condition control with seaweed and soil and outdoor. This could provide water quality with low ammonia and without the accumulation of nitrite, nitrate and phosphate in the system. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
สาหร่าย |
en_US |
dc.subject |
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดไนโตรเจน |
en_US |
dc.subject |
น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ |
en_US |
dc.subject |
สารประกอบไนโตรเจน |
en_US |
dc.subject |
Algae |
en_US |
dc.subject |
Sewage -- Purification -- Nitrogen removal |
en_US |
dc.subject |
Sewage -- Purification -- Biological treatment |
en_US |
dc.subject |
Nitrogen compounds |
en_US |
dc.title |
บทบาทของสาหร่ายช่อพริกไทยในการบำบัดสารประกอบไนโตรเจนในระบบเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ |
en_US |
dc.title.alternative |
Roles of the seaweed caulerpa lentillifera for treatment of nitrogen compounds in aquaculture systems |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |