Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการทดสอบความสามารถของสารแอนตะโกนิสติกจากแบคทีเรียในการ ควบคุมรา Marasmius sp. ที่ก่อโรคทะลายเน่าในปาล์ม จากการทดสอบความสามารถในการควบคุม โรคด้วยสารระเหยพบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M22 สามารถยับยั้งการเจริญของราได้มากที่สุด โดยมี เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญ 40.41% ตามด้วยแบคทีเรียสายพันธุ์ M25 และ M27 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การ ยับยั้งการเจริญ 16.23% และ 7.28% ตามลำดับ การทดสอบหาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตสารแอน ตะโกนิสติกของแบคทีเรีย M22, M25 และ M27 พบว่าเมื่อนำน้ำเลี้ยงที่ปราศจากเซลล์มาทดสอบ ความสามารถในการยับยั้งรา Marasmius sp. แล้ว แบคทีเรียสายพันธุ์ M22 และ M27 สามารถควบคุม การเจริญของราได้ดีเมื่อเลี้ยงแบคทีเรียที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส โดยสามารถยับยั้งการเจริญของราได้ 65.65% และ 59.44% ตามลำดับ ส่วนแบคทีเรียสายพันธุ์ M25 สามารถยับยั้งการเจริญของราได้ดีที่สุด เมื่อเจริญที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส โดยสามารถยับยั้งการเจริญของราได้ 56.14% จากผลการ ทดลองที่ได้พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M22 สามารถควบคุมราก่อโรคได้ดีที่สุดจึงนำไปศึกษาหาระยะเวลาที่ เหมาะสมในการผลิตสารแอนทาโกนิสติก และพบว่าแบคทีเรียสามารถผลิตสารแอนทาโกนิสติกได้ดีเมื่อ เข้าสู่ชั่วโมงที่ 8 โดยจากการทดสอบพบว่าที่ระยะเวลา 16, 20 และ 28 ชั่วโมงแบคทีเรียสามารถผลิตสาร แอนตะโกนิสติกได้ดีที่สุดโดยมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของรา 65.67%, 65.75% และ 69.93% ตามลำดับ จากการติดตามการเจริญพบว่าแบคทีเรียสามารถผลิตสารแอนทาโกนิสติกได้เมื่อเข้า สู่ระยะคงที่ (stationary phase) ที่ 8 ชั่วโมง เป็นต้นไป การศึกษาเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ของแบคทีเรีย โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพพบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M22, M25 และ M27 เป็นแบคทีเรียแกรมบวก มีรูปร่างเป็นแท่ง เมื่อเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rRNA พบว่าแบคทีเรีย M22 มีความใกล้เคียง 100% กับ Bacillus subtilis CAB1111 (KJ194590.1), แบคทีเรียสายพันธุ์ M25 มีความใกล้เคียง 100% กับ Bacillus velezensis T18 (KY307917.1) และแบคทีเรีย M27 มีความใกล้เคียง 99.87% กับ B. velezensis R-QL-120-24 (MT078637.1) แบคทีเรียและสารที่ผลิตได้มีศักยภาพสามารถนำไปใช้ใน การควบคุมโรคทะลายเน่าในปาล์มได้