dc.contributor.advisor |
ปาหนัน เริงสำราญ |
|
dc.contributor.author |
นภัสวรรณ ธรรมสวัสดิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-15T09:21:30Z |
|
dc.date.available |
2022-06-15T09:21:30Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78817 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายในการทดสอบความสามารถของสารแอนตะโกนิสติกจากแบคทีเรียในการ ควบคุมรา Marasmius sp. ที่ก่อโรคทะลายเน่าในปาล์ม จากการทดสอบความสามารถในการควบคุม โรคด้วยสารระเหยพบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M22 สามารถยับยั้งการเจริญของราได้มากที่สุด โดยมี เปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญ 40.41% ตามด้วยแบคทีเรียสายพันธุ์ M25 และ M27 ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การ ยับยั้งการเจริญ 16.23% และ 7.28% ตามลำดับ การทดสอบหาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตสารแอน ตะโกนิสติกของแบคทีเรีย M22, M25 และ M27 พบว่าเมื่อนำน้ำเลี้ยงที่ปราศจากเซลล์มาทดสอบ ความสามารถในการยับยั้งรา Marasmius sp. แล้ว แบคทีเรียสายพันธุ์ M22 และ M27 สามารถควบคุม การเจริญของราได้ดีเมื่อเลี้ยงแบคทีเรียที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส โดยสามารถยับยั้งการเจริญของราได้ 65.65% และ 59.44% ตามลำดับ ส่วนแบคทีเรียสายพันธุ์ M25 สามารถยับยั้งการเจริญของราได้ดีที่สุด เมื่อเจริญที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส โดยสามารถยับยั้งการเจริญของราได้ 56.14% จากผลการ ทดลองที่ได้พบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M22 สามารถควบคุมราก่อโรคได้ดีที่สุดจึงนำไปศึกษาหาระยะเวลาที่ เหมาะสมในการผลิตสารแอนทาโกนิสติก และพบว่าแบคทีเรียสามารถผลิตสารแอนทาโกนิสติกได้ดีเมื่อ เข้าสู่ชั่วโมงที่ 8 โดยจากการทดสอบพบว่าที่ระยะเวลา 16, 20 และ 28 ชั่วโมงแบคทีเรียสามารถผลิตสาร แอนตะโกนิสติกได้ดีที่สุดโดยมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของรา 65.67%, 65.75% และ 69.93% ตามลำดับ จากการติดตามการเจริญพบว่าแบคทีเรียสามารถผลิตสารแอนทาโกนิสติกได้เมื่อเข้า สู่ระยะคงที่ (stationary phase) ที่ 8 ชั่วโมง เป็นต้นไป การศึกษาเพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ของแบคทีเรีย โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพพบว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ M22, M25 และ M27 เป็นแบคทีเรียแกรมบวก มีรูปร่างเป็นแท่ง เมื่อเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rRNA พบว่าแบคทีเรีย M22 มีความใกล้เคียง 100% กับ Bacillus subtilis CAB1111 (KJ194590.1), แบคทีเรียสายพันธุ์ M25 มีความใกล้เคียง 100% กับ Bacillus velezensis T18 (KY307917.1) และแบคทีเรีย M27 มีความใกล้เคียง 99.87% กับ B. velezensis R-QL-120-24 (MT078637.1) แบคทีเรียและสารที่ผลิตได้มีศักยภาพสามารถนำไปใช้ใน การควบคุมโรคทะลายเน่าในปาล์มได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to test the ability of antagonistic substances from bacteria to control Marasmius sp. that caused bunch rot disease of oil palm. By testing the biocontrol ability by volatile substance, it was found that bacteria M22 was able to inhibit fungi with 40.41% inhibition, followed by M25 and M27 with 16.23% and 7.28%, respectively. The optimum temperature for producing antagonistic substances by bacteria M22, M25 and M27 was examined. The result showed that cell-free supernatants of M22 and M27 from 30°C showed better inhibition against Marasmius sp. at 65.65% and 59.44%, respectively, whereas that of M25 from 37°C showed 56.14% inhibition. Since the best result was obtained from bacteria M22, it was selected for time optimization test for the production of antagonistic substances. It was revealed that the highest antagonistic activity was found from supernatant after 8 hours. At 16, 20 and 28 hours, the bacteria was able to produce highest antagonistic activities with the inhibition of 65.67%, 65.75% and 69.93%, respectively. By monitoring the growth of bacteria, it was demonstrated that bacteria was able to produce antagonistic substances when entering stationary phase of growth at 8 hours onward. Morphological identification of M22, M25 and M27 showed that all of them were Gram positive with rod-shaped. Sequence analysis of 16S rRNA region indicated that M22 has 100% similarity to Bacillus subtilis CAB1111 (KJ194590.1), M25 has 100% similarity to Bacillus velezensis T18 (KY307917.1), and M27 has 99.87% similarity to B. velezensis RQL- 120-24 (MT078637.1). Bacteria and the substances produced has potential to be used to control Marasmius bunch rot disease in oil palm. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ปาล์ม -- โรคและศัตรูพืช |
en_US |
dc.subject |
เชื้อราปฏิปักษ์ |
en_US |
dc.subject |
โรคเกิดจากเชื้อราในพืช |
en_US |
dc.subject |
Palms -- Diseases and pests |
en_US |
dc.subject |
Antagonistic fungi |
en_US |
dc.subject |
Fungal diseases of plants |
en_US |
dc.title |
แอนตาโกนิสติกแบคทีเรียที่สามารถยับยั้ง Marasmius sp. ที่ก่อโรคทะลายเน่าในปาล์ม |
en_US |
dc.title.alternative |
Antagonistic bacteria against Marasmius sp., the causal agent of bunch rot disease in oil palm |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |