Abstract:
โรคใบร่วงในต้นยางพาราเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำยางในประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุจากราน้ำในสกุล Phytophthora sp., Pythium sp. และ Phytopythium sp. งานวิจัยนี้แยกและ ระบุชนิดของราน้ำจากก้านใบยางพาราที่เป็นโรคจากสวนยางพาราในพื้นที่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของ ประเทศไทย โดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและอณูวิทยาด้วยยีนบริเวณ ITS ของราน้ำ 4 ไอโซเลทที่คัด แยกได้ คือ S.1, S.2, S.3 และ S.4 ทั้ง 4 ไอโซเลทมีลักษณะของสปอร์แรงเจียมคล้ายกับราน้ำในสกุล Phytophthora sp., Pythium sp. และ Phytopythium sp. ที่เคยมีการรายงานค้นพบก้อนหน้านี้ในประเทศ ไทย ทุกไอโซเลทมีลักษณะการปล่อยซูโอสปอร์ที่เหมือนกันคือ โปรโตพลาซึมจะไหลออกมาจากสปอร์แรงเจียม ผ่านท่อปล่อยเข้าไปใน vesicle จากนั้นซูโอสปอร์จะพัฒนานอกสปอร์แรงเจียมภายใน vesicle และจะถูก ปล่อยหลังจากผนังของ vesicle แตก ซึ่งเป็นลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่มักพบใน Pythium sp. และ Phytopythium sp. จึงอาจจะมีความเป็นไปได้ว่าไอโซเลทที่คัดแยกได้ทั้ง 4 ไอโซเลทนี้เป็นราน้ำในสกุล ดังกล่าว อย่างไรก็ตามจะต้องมีการศึกษาลำดับของสารพันธุกรรมเพื่อให้สามารถระบุสายพันธุ์ได้ชัดเจน เพื่อ ยืนยันว่าแต่ละไอโซเลทที่คัดแยกได้เป็นสปีชีส์ใด โดยเทียบลำดับสารพันธุกรรมของแต่ละไอโซเลทในฐานข้อมูล แล้วจึงใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกันมากที่สุด