Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78840
Title: | การคัดแยกและการระบุชนิดของราน้ำจากต้นยางพารา |
Other Titles: | Isolation and identification of watermold from para rubber tree |
Authors: | อมลวรรณ จันเพชร์ |
Advisors: | ปาหนัน เริงสำราญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | เชื้อราน้ำ ยางพารา Aquatic fungi Hevea |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคใบร่วงในต้นยางพาราเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำยางในประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุจากราน้ำในสกุล Phytophthora sp., Pythium sp. และ Phytopythium sp. งานวิจัยนี้แยกและ ระบุชนิดของราน้ำจากก้านใบยางพาราที่เป็นโรคจากสวนยางพาราในพื้นที่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของ ประเทศไทย โดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและอณูวิทยาด้วยยีนบริเวณ ITS ของราน้ำ 4 ไอโซเลทที่คัด แยกได้ คือ S.1, S.2, S.3 และ S.4 ทั้ง 4 ไอโซเลทมีลักษณะของสปอร์แรงเจียมคล้ายกับราน้ำในสกุล Phytophthora sp., Pythium sp. และ Phytopythium sp. ที่เคยมีการรายงานค้นพบก้อนหน้านี้ในประเทศ ไทย ทุกไอโซเลทมีลักษณะการปล่อยซูโอสปอร์ที่เหมือนกันคือ โปรโตพลาซึมจะไหลออกมาจากสปอร์แรงเจียม ผ่านท่อปล่อยเข้าไปใน vesicle จากนั้นซูโอสปอร์จะพัฒนานอกสปอร์แรงเจียมภายใน vesicle และจะถูก ปล่อยหลังจากผนังของ vesicle แตก ซึ่งเป็นลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่มักพบใน Pythium sp. และ Phytopythium sp. จึงอาจจะมีความเป็นไปได้ว่าไอโซเลทที่คัดแยกได้ทั้ง 4 ไอโซเลทนี้เป็นราน้ำในสกุล ดังกล่าว อย่างไรก็ตามจะต้องมีการศึกษาลำดับของสารพันธุกรรมเพื่อให้สามารถระบุสายพันธุ์ได้ชัดเจน เพื่อ ยืนยันว่าแต่ละไอโซเลทที่คัดแยกได้เป็นสปีชีส์ใด โดยเทียบลำดับสารพันธุกรรมของแต่ละไอโซเลทในฐานข้อมูล แล้วจึงใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกันมากที่สุด |
Other Abstract: | Leaf fall disease in rubber trees is a problem affecting the quantity and quality of rubber latex in Thailand. This was caused by Phytophthora, Pythium and Phytopythium species. In this research, water mold was isolated and identified from diseased leaf stalks of rubber trees in Southern and Eastern Thailand. The water mold was studied by morphological characteristic and molecular analysis based on the internal transcribed spacer (ITS) region of four isolates which were provisionally named as isolate S.1, S.2, S.3 and S.4. Sporangia characteristics of all four isolates were similar to those of the genera Phytophthora, Pythium and Phytopythium species. In addition, all isolates had the same method of zoospore discharge which was that the protoplasm flows out of the sporangium through a discharge tube to form a plasma-filled vesicle at the tip. Zoospores were developed outside the sporangium, within the membrane of a vesicle and were released after rupture of the membrane. It is a morphological character found in genus Pythium and Phytopythium. Therefore, it is possible that all four isolates belong to these genera. However, it is necessary to study the genetic sequence to identify the species and to verify each isolate by comparing the sequence of the genetic material of each isolate on the database. Then use morphology to compare with the species that are most similar to each other. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78840 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-MICRO-019 - Amonwan Chanpet.pdf | 27.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.