DSpace Repository

ผลของไบโอพอลิเมอร์ต่อประสิทธิภาพในการเอนแคปซูเลชันจากสารสกัดกระเจี๊ยบ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สาริศา สุริยรักษ์
dc.contributor.author ณัฐพิมล เตโชพันธ์
dc.contributor.author บุณฑริกา เกิดเกียรติขจร
dc.contributor.author สมิดา พฤกษ์กันทรากร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-17T01:14:10Z
dc.date.available 2022-06-17T01:14:10Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78852
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสม (อุณหภูมิและชนิดกรดอินทรีย์) ในการสกัดแอนโทไซยานินและเพกทินจากกระเจี๊ยบศึกษาผลของไคโตซานต่อประสิทธิภาพในการเอนแคปซูเลทสารสกัดแอนโทไซยานินโดยการเติมไคโตซาน 0.025% และ 0.05% (v/v) รวมถึงศึกษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของเพกทินที่ได้จากการสกัดในสภาวะต่าง ๆ โดยใช้ตัวทำละลาย เอทานอล:น้ำ อัตราส่วน 1:1 (v/v) ปรับค่า pH เป็น 2.5 ด้วยกรดอินทรีย์ 3 ชนิด (กรดซิตริก กรดแลกติก และกรดมาลิก) ที่อัตราส่วน 1:2 (w/v) ของกระเจี๊ยบแดงต่อตัวทำละลาย และวิเคราะห์หาปริมาณ Anthocyanin content (ATC) ของสารสกัดที่อุณหภูมิแตกต่างกัน (50, 75 และ 90 °C) โดยวิธี pH-differential method พบว่าที่อุณหภูมิ 50 °C การสกัดด้วยตัวทำละลายที่ปรับ pH ด้วยกรดซิตริก กรดแลกติก และกรดมาลิก มีปริมาณ ATC สูงที่สุด (37.74 ± 0.41, 36.86 ± 0.86 และ 37.80 ± 0.59mg/100ml) จากนั้นนำสารสกัดมาตกตะกอนเพกทินและนำไปทำแห้งแบบแช่เยือกเเข็ง และวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมีของเพกทิน พบว่าค่าสี มีค่าความสว่าง (L*) อยู่ในช่วง 59.53 ถึง 65.06, สีแดง (a*) อยู่ในช่วง 14.91 ถึง 22.47 และสีเหลือง (b*) อยู่ในช่วง 1.58 ถึง 12.35 และที่อุณหภูมิ 90 °C การสกัดด้วยตัวทำละลายที่ปรับ pH ด้วยกรดซิตริกและกรดมาลิก ได้ %yield (7.10 ± 0.11% และ 6.92 ± 0.23%) สูงกว่าตัวทำละลายที่ปรับ pH ด้วยกรดแลกติก (6.72 ± 0.16%) อย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) จากการวิเคราะห์สารที่สกัดในสภาวะต่างๆ พบว่าปริมาณ Methoxyl content (%MeO) มีค่าอยู่ระหว่าง 2.81 ± 0.15% ถึง 3.78 ± 0.07% และ Anhydrouronic acid content (%AUA) มีค่าอยู่ระหว่าง 53.12 ± 0.49% ถึง 60.45 ± 0.85% ส่วน Degree of Esterification (%DE) มีค่าอยู่ระหว่าง 30.24 ± 0.06% ถึง 36.21 ± 0.51% ซึ่งจัดอยู่ในเพกทินชนิดที่มีปริมาณหมู่เมทอกซิลต่ำ โดยที่อุณหภูมิ 90 °C การสกัดด้วยตัวทำละลายที่ปรับ pH ด้วยกรดอินทรีย์ทั้ง 3 ชนิด แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการเอนแคปซูเลทแอนโทไซยานินสูงสุด 52.48% ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) โดยอุณหภูมิที่ใช้สกัดมีผลต่อร้อยละผลผลิต เพกทินและการเอนแคปซูเลทมากกว่าชนิดกรด อย่างไรก็ตามการเติมสารไคโตซานซึ่งเป็นไบโอพอลิเมอร์ลงในสารสกัดจากกระเจี๊ยบในความเข้มข้นข้างต้นไม่พบว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเอนแคปซูเลทแอนโทไซยานินร่วมกับเพกทิน en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study the optimal conditions (temperatures and organic acids) for extracting anthocyanins and pectin from roselle, the effect of chitosan on the efficiency of encapsulated anthocyanins under various conditions by adding 0.025% and 0.05% (v/v). The physical and chemical properties of pectin extracted under various conditions, by using a 1:1 (v/v) ethanol: water ratio, pH adjusted to 2.5 with 3 types of organic acids (citric acid, lactic acid and malic acid) at the ratio of 1:2 (w/v) of roselle to solvent were evaluated. Anthocyanin content (ATC) was determined from different temperatures (50, 75 and 90°C) by pH-differential method. It was found that at 50°C the extract that adjusts with citric acid, lactic acid and malic acid demonstrated the highest anthocyanin content (37.74 ± 0.41, 36.86 ± 0.86 and 37.80 ± 0.59 mg / 100ml). The extract was precipitated with pectin and further freeze-dried. The physical and chemical properties of pectin were analyzed, the color parameter indicates lightness (L*) ranging from 59.53 to 65.06, red (a*) ranging from 14.91 to 22.47, and yellow (b*) ranging from 1.58 to 12.35. At 90°C, the extraction with pH-adjusted solvent containing citric and malic acid produced higher %yield (7.10 ± 0.11% and 6.92 ± 0.23%, respectively) than the solvent extracted from lactic acid (6.72 ± 0.16%) with a significant difference (p≤0.05). A methoxyl content (%MeO) analysis of all extracts was found to be between 2.81 ± 0.15% to 3.78 ± 0.07%. Anhydrouronic acid content (%AUA) was found to be between 53.12 ± 0.49% to 60.45 ± 0.85% while the Degree of Esterification (%DE) was between 30.24 ± 0.06% to 36.21 ± 0.51%, which was classified as low methoxyl pectin. At 90 °C, solvent extraction with the three organic acids showed the highest encapsulated anthocyanins efficiency of 52.48% with a significant difference (p≤0.05). The extract temperature were dominate on pectin yield and encapsulate over the acid type. However, adding chitosan, a biopolymer, to roselle extract at the above concentration levels did not improve the efficiency of anthocyanins encapsulation with pectin. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โพลิเมอร์ชีวภาพ en_US
dc.subject กระเจี๊ยบ en_US
dc.subject แอนโทไซยานินส์ en_US
dc.subject เพกติน en_US
dc.subject Biopolymers en_US
dc.subject Roselle en_US
dc.subject Anthocyanins en_US
dc.subject Pectin en_US
dc.title ผลของไบโอพอลิเมอร์ต่อประสิทธิภาพในการเอนแคปซูเลชันจากสารสกัดกระเจี๊ยบ en_US
dc.title.alternative Effect of biopolymer on roselle-extract encapsulation efficiency en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record