Abstract:
เพคตินเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ตามธรรมชาติ สามารถใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่ต้องการ และยังเป็นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพช่วยลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด เพคติน สามารถพบได้ในเปลือกผลไม้ เช่น ผลไม้ตระกูลซิตรัส และแอปเปิ้ล นอกจากนี้ยังพบเพคตินในเปลือกของผลไม้ชนิด อื่น ๆ เช่น กล้วย กล้วยมีการนำไปบริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยทั้งผลกล้วยและลำต้น อย่างไรก็ดี เปลือก กล้วยและลำต้นที่ไม่ได้นำไปบริโภคเป็นส่วนที่เหลือใช้ งานวิจัยนี้จึงสนใจนำส่วนที่เหลือใช้ของกล้วยน้ำว้ามาสกัดเพคติน ได้แก่ เปลือกกล้วยน้ำว้า และแกนกล้วยน้ำว้า โดยเปรียบเทียบกับเพคตินที่ได้จากเปลือกส้มแมนดาริน โดยปริมาณ เพคตินที่ได้จากเปลือกส้มมีค่า % yield สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญคือ 31.07 ± 0.9% ของน้ำหนักแห้ง ขณะที่เพคตินจาก เปลือกกล้วยและแกนกล้วยมีค่า 4.67 ± 0.2% และ 3.45 ± 0.3% ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ เมื่อทำการประเมิน คุณสมบัติทางเคมีของเพคติน ได้แก่ ปริมาณเมทอกซิลเพคติน ระดับเอสเทอริฟิเคชัน และปริมาณกรดยูโรนิก พบว่า เพคตินที่สกัดได้จากเปลือกกล้วย แกนกล้วย และเปลือกส้ม มีปริมาณเมทอกซิลของเพคติน เท่ากับ 7.46 ± 0.48%, 6.62 ± 0.46% และ 6.27 ± 0.07% ตามลำดับ โดยเพคตินที่สกัดได้จากเปลือกกล้วย และแกนกล้วย เป็นชนิด low methoxyl pectin ซึ่งมีระดับเอสเทอริฟิเคชันเท่ากับ 37.08 ± 1.72% และ 33.91 ± 1.34% ตามลำดับ ขณะที่เพคติน จากเปลือกส้มเป็น high methoxy pectin ซึ่งมีระดับเอสเทอริฟิเคชันเท่ากับ 76.50 ± 1.01% และปริมาณกรดยูโรนิค จากเพคตินที่สกัดจากเปลือกกล้วย แกนกล้วย และเปลือกส้ม มีค่าเท่ากับ 46.30 ± 0.43%, 40.05 ± 3.74% และ 65.63 ± 2.54% ตามลำดับ นอกจากนี้การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของเพคตินที่สกัดได้จากเปลือกกล้วย แกนกล้วย และเปลือกส้ม ด้วยวิธี ABTS และ FRAP พบว่าฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของเพคติน ที่สกัดได้จากเปลือก กล้วยมีค่าสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยการวิเคราะห์ทั้งวิธี ABTS และ FRAP มีค่า 23.45 ± 1.30 mM VCEAC/g และ 1.50 ± 0.09 mM TEAC/g ตามลำดับ ในขณะที่เพคตินที่ได้จากแกนกล้วย และเปลือกส้มมีฤทธิ์การ ต้านอนุมูลอิสระที่วิเคราะห์ด้วยวิธี ABTS มีค่า 9.68 ± 0.88 และ 7.17 ± 0.57 mM VCEAC/g และวิเคราะห์ด้วยวิธี FRAP มีค่า 0.74 ± 0.04 และ 0.69 ± 0.02 mM TEAC/g ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าเพคตินที่สกัดได้จากเปลือกกล้วยมี ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าเพคตินที่สกัดได้จากอีกสองแหล่งอย่างมีนัยสำคัญ และจากการทดสอบคุณสมบัติการ เป็นพรีไบโอติกที่ของเพคตินที่ได้จากเปลือกกล้วยต่อจุลินทรีย์โพรไบโอติกชนิด L. paracasei และ B. lactis Bb12 ในน้ำทับทิมเป็นเวลา 14 วัน พบว่าในหลอดทดลองที่มีการเติมเพคตินในวันที่14 มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดเท่ากับ 6.20 ± 0.02 และ 5.71 ± 0.004 log CFU/ml ตามลำดับ เทียบกับหลอดทดสองที่ไม่เติมเพคตินมีปริมาณ เชื้อจุลินทรีย์เท่ากับ 4.24 ± 0.04 และ 4.18 ± 0.14 log CFU/ml ตามลำดับ ดังนั้นการนำเพคตินจากเปลือก กล้วยไปใช้ประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาต่อไป