dc.contributor.advisor | ณัฐธิดา โชติช่วง | |
dc.contributor.author | ปุญญพัฒน์ อุทิศผล | |
dc.contributor.author | ปุณยนุช มณีพงษ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-06-17T01:18:09Z | |
dc.date.available | 2022-06-17T01:18:09Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78853 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | เพคตินเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ตามธรรมชาติ สามารถใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ได้เนื้อสัมผัสที่ต้องการ และยังเป็นใยอาหารที่ดีต่อสุขภาพช่วยลดอัตราการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด เพคติน สามารถพบได้ในเปลือกผลไม้ เช่น ผลไม้ตระกูลซิตรัส และแอปเปิ้ล นอกจากนี้ยังพบเพคตินในเปลือกของผลไม้ชนิด อื่น ๆ เช่น กล้วย กล้วยมีการนำไปบริโภคกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยทั้งผลกล้วยและลำต้น อย่างไรก็ดี เปลือก กล้วยและลำต้นที่ไม่ได้นำไปบริโภคเป็นส่วนที่เหลือใช้ งานวิจัยนี้จึงสนใจนำส่วนที่เหลือใช้ของกล้วยน้ำว้ามาสกัดเพคติน ได้แก่ เปลือกกล้วยน้ำว้า และแกนกล้วยน้ำว้า โดยเปรียบเทียบกับเพคตินที่ได้จากเปลือกส้มแมนดาริน โดยปริมาณ เพคตินที่ได้จากเปลือกส้มมีค่า % yield สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญคือ 31.07 ± 0.9% ของน้ำหนักแห้ง ขณะที่เพคตินจาก เปลือกกล้วยและแกนกล้วยมีค่า 4.67 ± 0.2% และ 3.45 ± 0.3% ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ เมื่อทำการประเมิน คุณสมบัติทางเคมีของเพคติน ได้แก่ ปริมาณเมทอกซิลเพคติน ระดับเอสเทอริฟิเคชัน และปริมาณกรดยูโรนิก พบว่า เพคตินที่สกัดได้จากเปลือกกล้วย แกนกล้วย และเปลือกส้ม มีปริมาณเมทอกซิลของเพคติน เท่ากับ 7.46 ± 0.48%, 6.62 ± 0.46% และ 6.27 ± 0.07% ตามลำดับ โดยเพคตินที่สกัดได้จากเปลือกกล้วย และแกนกล้วย เป็นชนิด low methoxyl pectin ซึ่งมีระดับเอสเทอริฟิเคชันเท่ากับ 37.08 ± 1.72% และ 33.91 ± 1.34% ตามลำดับ ขณะที่เพคติน จากเปลือกส้มเป็น high methoxy pectin ซึ่งมีระดับเอสเทอริฟิเคชันเท่ากับ 76.50 ± 1.01% และปริมาณกรดยูโรนิค จากเพคตินที่สกัดจากเปลือกกล้วย แกนกล้วย และเปลือกส้ม มีค่าเท่ากับ 46.30 ± 0.43%, 40.05 ± 3.74% และ 65.63 ± 2.54% ตามลำดับ นอกจากนี้การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของเพคตินที่สกัดได้จากเปลือกกล้วย แกนกล้วย และเปลือกส้ม ด้วยวิธี ABTS และ FRAP พบว่าฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของเพคติน ที่สกัดได้จากเปลือก กล้วยมีค่าสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยการวิเคราะห์ทั้งวิธี ABTS และ FRAP มีค่า 23.45 ± 1.30 mM VCEAC/g และ 1.50 ± 0.09 mM TEAC/g ตามลำดับ ในขณะที่เพคตินที่ได้จากแกนกล้วย และเปลือกส้มมีฤทธิ์การ ต้านอนุมูลอิสระที่วิเคราะห์ด้วยวิธี ABTS มีค่า 9.68 ± 0.88 และ 7.17 ± 0.57 mM VCEAC/g และวิเคราะห์ด้วยวิธี FRAP มีค่า 0.74 ± 0.04 และ 0.69 ± 0.02 mM TEAC/g ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าเพคตินที่สกัดได้จากเปลือกกล้วยมี ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าเพคตินที่สกัดได้จากอีกสองแหล่งอย่างมีนัยสำคัญ และจากการทดสอบคุณสมบัติการ เป็นพรีไบโอติกที่ของเพคตินที่ได้จากเปลือกกล้วยต่อจุลินทรีย์โพรไบโอติกชนิด L. paracasei และ B. lactis Bb12 ในน้ำทับทิมเป็นเวลา 14 วัน พบว่าในหลอดทดลองที่มีการเติมเพคตินในวันที่14 มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดเท่ากับ 6.20 ± 0.02 และ 5.71 ± 0.004 log CFU/ml ตามลำดับ เทียบกับหลอดทดสองที่ไม่เติมเพคตินมีปริมาณ เชื้อจุลินทรีย์เท่ากับ 4.24 ± 0.04 และ 4.18 ± 0.14 log CFU/ml ตามลำดับ ดังนั้นการนำเพคตินจากเปลือก กล้วยไปใช้ประโยชน์จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | Pectin is a complex polysaccharide which are used as gelling agent, thickening agent and stabilizer in food and it is also a dietary fiber that reduces blood sugar. Pectin is fiber found in the fruit’s peel, such as citrus peel, apple pomace and banana peel. Banana stem and banana peels are waste. Therefore, this research is interested to extract pectin from banana peel and banana stem of Kluay Nam Wa by comparison with source of commercial pectin, mandarin orange peel, which were extracted under the same extraction conditions. The yield of orange peel was 31.07 ± 0.9% dry weight. While pectin from Banana peel and banana stem were 4.67 ± 0.2% and 3.45 ± 0.3% dry weight, respectively. Pectin extracted from banana peel, banana stem and orange peel have pectin methoxyl content 7.46 ± 0.48%, 6.62 ± 0.46% and 6.27 ± 0.07%, respectively. The extracted banana peel pectin and banana stem pectin were categorized as low methoxyl pectin with the degree of esterification 37.08 ± 1.72% and 33.91 ± 1.34%, respectively, while orange peel pectin was high methoxy pectin (76.50%). The anhydrouronic acid (AUA) content of pectin from banana peel, banana stem and orange peel were 46.30 ± 0.43%, 40.05 ± 3.74% and 65.63± 2.54%, respectively. The antioxidant activity of pectin extracted from banana peel, banana stem and orange peel were investigated by ABTS and FRAP method. The results showed that pectin from banana peel were 23.45 ± 1.30 mM VCEAC/g and 1.50 ± 0.09 mM TEAC/g, respectively, which were significantly (p <0.05) higher than those from banana stem and orange peel in both ABTS and FRAP methods. The antioxidant activity of banana stem and orange peel by ABTS method were 9.68 ± 0.88 and 7.17 ± 0.57 mM VCEAC/g and FRAP methods were 0.74 ± 0.04 and 0.69 ± 0.02 mM TEAC/g, respectively. The antioxidant activity in pectin extracted from banana peel and was significantly higher than those from banana stem and orange peel. For the prebiotic activity of pectin extracted from banana peel, the survival of probiotic L. paracasei and B. lactis Bb12 in pomegranate juice with pectin-added for 14 days were 6.20 ± 0.02 and 5.71 ± 0.004 log CFU/ml, respectively, whereas the microbial contents of the test tube without pectin were 4.24 ± 0.04 and 4.18 ± 0.14 log CFU/ml, respectively. Therefore, the use of pectin from banana peels is interesting to research further. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กล้วย | en_US |
dc.subject | เพกติน | en_US |
dc.subject | Bananas | en_US |
dc.subject | Pectin | en_US |
dc.title | การสกัดเพคตินจากส่วนต่าง ๆ ของกล้วย | en_US |
dc.title.alternative | Extraction of pectin from banana components | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |