Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเสถียรภาพของสารสกัดเบตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรโดยการ เติมสารไฮโดรคอลลอยด์ ทำการทดลองโดยสกัดสารเบตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรด้วยเอทานอล:น้ำ ใน อัตราส่วน 60:40 (v/v) จากนั้นนำไปทำแห้งด้วยการแช่เยือกแข็ง ผสมสารสกัดที่ได้ (0.4% w/v) ในสารละลาย ไฮโดรคอลลอยด์ ได้แก่ เพคติน และคาร์ราจีแนน ที่ความเข้มข้น 1.0, 1.5 และ 2.0% (w/v) และนำไปเก็บ รักษาในที่มืด 4 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ โดยวัดค่าต่างๆ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ดังนี้ วัดปริมาณ Betacyanin Content (BC) ด้วยวิธีทางสเปกโทรโฟโตเมตรี คำนวณจลนพลศาสตร์ของการสลายตัวของเบตา ไซยานิน (ค่าคงที่อัตราการลดลง (k) และค่าครึ่งชีวิต (t₁/₂) ปริมาณสารฟaนอลิกทั้งหมด (TPC) และวิเคราะห์ คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay เปรียบเทียบกับสารสกัดจากเปลือกแก้วมังกรที่ไม่ เติมสารไฮโดรคอลลอยด์เป็นตัวอย่างควบคุม หลังจากเก็บรักษาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดเบตาไซยานินจากเปลือกแก้วมังกรที่เติมเพคตินที่ความเข้มข้น 1.0, 1.5 และ 2.0% มีปริมาณ BC (1.36 ± 0.07, 1.50 ± 0.12 และ 1.77 ± 0.24 mg/100ml) มากกว่าตัวอย่างควบคุม (1.13 ± 0.09 mg/100ml) และตัวอย่างที่เติม คาร์ราจีแนน (1.01 ± 0.15, 0.53 ± 0.01 และ 1.08 ± 0.05 mg/100ml) อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) และค่า t₁/₂ ในสารสกัดที่เติมเพคติน (17.64 ± 2.37, 15.82 ± 2.12 และ 16.95 ± 3.39 วัน) มีค่าสูงกว่าสารสกัดที่ เติมคาร์ราจีแนน (10.65 ± 4.64, 3.86 ± 0.62, 7.50 ± 0.96 วัน) อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) นอกจากนี้ค่า TPC (mM gallic acid/g dry sample extract) ของตัวอย่างที่เติมเพคติน (355.70 ± 12.31, 407.13 ± 21.63 และ 451.78 ± 9.32) มีค่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม (273.67 ± 2.98) และสารสกัดที่เติม คาร์ราจีแนน (175.08 ± 2.61, 160.84 ± 30.96 และ 125.76 ± 10.07) อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) และ คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของตัวอย่างที่เติมเพคติน (93.99 ± 0.41, 92.60 ± 0.52, 92.01 ± 2.18) สูงกว่าเมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม (69.65 ± 2.49) และสารสกัดที่เติมคาร์ราจีแนน (76.69 ± 0.21, 78.96 ± 2.18, 78.59 ± 1.87) อย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) ดังนั้นจากผลการทดลองพบว่าสารสกัดจากเปลือก แก้วมังกรที่เติมเพคตินที่ความเข้มข้น 1% มีค่าครึ่งชีวิตสูงที่สุด และมีคุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มากที่สุด สามารถรักษาเสถียรภาพของสารเบตาไซยานินได้ดี