Abstract:
ปัจจุบันมนุษย์ได้รับความเสี่ยงในการเป็นโรคอาหารเป็นพิษสูง ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนของ แบคทีเรียในอาหาร โดยยารักษาโรคอาหารเป็นพิษทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลิต- ภัณฑ์ธรรมชาติในการนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคเพื่อลดอาการข้างเคียงลง เกสรผึ้ง คือ ผลิต- ภัณฑ์อย่างหนึ่งของผึ้งที่เก็บจากเรณูดอกไม้ อุดมไปด้วยสารประกอบฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ที่มี คุณสมบัติทางชีวภาพมากมาย ทั้งนี้ผู้วิจัยสนใจเกสรผึ้งจากเรณูข้าวโพดหวาน Zea mays และจาก เรณูชา Camellia sinensis เนื่องจากเรณูข้าวโพดหวานและเรณูชามีคุณสมบัติทางการแพทย์หลาย อย่าง ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็น พิษ โดยเลือกศึกษาใน Escherichia coli และ Staphylococcus aureus และใช้สารสกัดหยาบ เกสรผึ้งพันธุ์ Apis mellifera จากเรณูข้าวโพดหวาน และเรณูชา เริ่มการสกัดหยาบโดยใช้เกสรผึ้ง 20 g ละลายในเมทานอล 200 ml บ่มที่อุณหภูมิห้องในที่มืดเป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากนั้น ทำการ ปั่นที่ความเร็ว 6,000 รอบต่อนาทีที่อุณหภูมิ 4 °C เป็นเวลา 15 นาที นำส่วนใส (supernatant) มา ทำการระเหยแห้งโดยใช้ rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 40 °C ได้สารสกัดหยาบที่เหนียวหนืด สีเหลืองอมน้ำตาลเข้ม โดยสารสกัดหยาบจากเรณูข้าวโพดหวานมี yield เท่ากับ 19.8% และจากเรณู ชามี yield เท่ากับ 16.1% นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียโดยวิธี disc diffusion assay โดยนำสารสกัดหยาบเกสรผึ้งมาเตรียมให้มีความเข้มข้นต่าง ๆ (0, 62, 125, 250, 500 และ 1000 mg/ml) โดย ใช้ dimethyl sulfoxide, ใช้ยาปฏิชีวนะ penicillin และ streptomycin (penn/strep) เป็น positive control, ทำการเพาะเชื้อ E. coli และ S. aureus ใน Luria-Bertani broth (LB broth) ที่ 100 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง หลังจากทำการเกลี่ยเชื้อ (100 µl) ลงบน LB agar plate, นำ paper disc ที่มีสารสกัดอย่างหยาบที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ หรือ penn/strep มาวางบน agar และทำการบ่มที่อุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทำการทดลองซ้ำ 3 ครั้ง บันทึก ผลของบริเวณที่เชื้อถูกยับยั้ง (clear zone) จากผลการทดลองไม่พบ clear zone ของ E. coli และ S. aureus จากทุกความเข้มข้นของสารสกัดหยาบเกสรผึ้งด้วยเมทานอล ในขณะที่พบว่า penn/ strep สามารถยับยั้งการเติบโตของ E. coli และ S. aureus ได้ดี มีเส้นผ่านศูนย์กลางของ clear zone เฉลี่ยขนาด 3.03 และ 2.53 cm ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้การ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และ Post hoc test สามารถสรุปได้ว่าสาร สกัดหยาบทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถยับยั้งการเติบโตของ E. coli และ S. aureus ได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P=0.05) ผลจากงานวิจัยในครั้งนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการพิจารณาการใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมา เป็นแนวทางในการสร้างทางเลือกต่อการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในทางเดินอาหาร และการประยุกต์ไป เป็นยารักษาโรคอาหารเป็นพิษ