dc.contributor.advisor |
จันทร์เพ็ญ จันทร์เจ้า |
|
dc.contributor.author |
อรณัชชา จำลอง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-06-20T07:31:54Z |
|
dc.date.available |
2022-06-20T07:31:54Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78881 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
en_US |
dc.description.abstract |
ปัจจุบันมนุษย์ได้รับความเสี่ยงในการเป็นโรคอาหารเป็นพิษสูง ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนของ แบคทีเรียในอาหาร โดยยารักษาโรคอาหารเป็นพิษทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลิต- ภัณฑ์ธรรมชาติในการนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคเพื่อลดอาการข้างเคียงลง เกสรผึ้ง คือ ผลิต- ภัณฑ์อย่างหนึ่งของผึ้งที่เก็บจากเรณูดอกไม้ อุดมไปด้วยสารประกอบฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ที่มี คุณสมบัติทางชีวภาพมากมาย ทั้งนี้ผู้วิจัยสนใจเกสรผึ้งจากเรณูข้าวโพดหวาน Zea mays และจาก เรณูชา Camellia sinensis เนื่องจากเรณูข้าวโพดหวานและเรณูชามีคุณสมบัติทางการแพทย์หลาย อย่าง ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็น พิษ โดยเลือกศึกษาใน Escherichia coli และ Staphylococcus aureus และใช้สารสกัดหยาบ เกสรผึ้งพันธุ์ Apis mellifera จากเรณูข้าวโพดหวาน และเรณูชา เริ่มการสกัดหยาบโดยใช้เกสรผึ้ง 20 g ละลายในเมทานอล 200 ml บ่มที่อุณหภูมิห้องในที่มืดเป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากนั้น ทำการ ปั่นที่ความเร็ว 6,000 รอบต่อนาทีที่อุณหภูมิ 4 °C เป็นเวลา 15 นาที นำส่วนใส (supernatant) มา ทำการระเหยแห้งโดยใช้ rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 40 °C ได้สารสกัดหยาบที่เหนียวหนืด สีเหลืองอมน้ำตาลเข้ม โดยสารสกัดหยาบจากเรณูข้าวโพดหวานมี yield เท่ากับ 19.8% และจากเรณู ชามี yield เท่ากับ 16.1% นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียโดยวิธี disc diffusion assay โดยนำสารสกัดหยาบเกสรผึ้งมาเตรียมให้มีความเข้มข้นต่าง ๆ (0, 62, 125, 250, 500 และ 1000 mg/ml) โดย ใช้ dimethyl sulfoxide, ใช้ยาปฏิชีวนะ penicillin และ streptomycin (penn/strep) เป็น positive control, ทำการเพาะเชื้อ E. coli และ S. aureus ใน Luria-Bertani broth (LB broth) ที่ 100 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง หลังจากทำการเกลี่ยเชื้อ (100 µl) ลงบน LB agar plate, นำ paper disc ที่มีสารสกัดอย่างหยาบที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ หรือ penn/strep มาวางบน agar และทำการบ่มที่อุณหภูมิ 37 °C เป็นเวลา 12 ชั่วโมง ทำการทดลองซ้ำ 3 ครั้ง บันทึก ผลของบริเวณที่เชื้อถูกยับยั้ง (clear zone) จากผลการทดลองไม่พบ clear zone ของ E. coli และ S. aureus จากทุกความเข้มข้นของสารสกัดหยาบเกสรผึ้งด้วยเมทานอล ในขณะที่พบว่า penn/ strep สามารถยับยั้งการเติบโตของ E. coli และ S. aureus ได้ดี มีเส้นผ่านศูนย์กลางของ clear zone เฉลี่ยขนาด 3.03 และ 2.53 cm ตามลำดับ และจากการวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้การ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และ Post hoc test สามารถสรุปได้ว่าสาร สกัดหยาบทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถยับยั้งการเติบโตของ E. coli และ S. aureus ได้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P=0.05) ผลจากงานวิจัยในครั้งนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการพิจารณาการใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมา เป็นแนวทางในการสร้างทางเลือกต่อการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในทางเดินอาหาร และการประยุกต์ไป เป็นยารักษาโรคอาหารเป็นพิษ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Currently, humans are at high risk of foodborne disease, which is mainly caused by the bacterial contamination. Foodborne disease medications can cause side effects. Thus, natural products were interesting to be applied in the treatment of disease to diminish side effects. Bee pollen is one of bee products which workers collect from floral pollen, which is rich in phenolic compounds and flavonoids with many reported bioactivities. In this work, bee pollen from sweet corn (Zea mays) and tea (Camellia sinensis) were focused due to their medical properties. For the reasons mentioned above, inhibiting activity of foodborne pathogenic bacteria was in our interest. Escherichia coli and Staphylococcus aureus were representative. Crude extracts of Apis mellifera bee pollen from pollen of sweet corn and tea were used. Bee pollen (20 g) was initially dissolved in 200 mL methanol. The mixture had been incubated at room temperature (RT) for 48 h in the dark. Later, it was spun at 6,000 rounds/min (rpm), 4°C for 15 min. Then, the supernatant was collected and evaporated by a rotary evaporator at 40 °C. Both crude extracts were sticky and looked yellow and dark brown. The yield of crude extract from sweet corn bee pollen was 19.8% and of tea bee pollen was 16.1%. The antibacterial activity was tested by disc diffusion assay. Crude extract was prepared in various concentrations of 0, 62, 125, 250, 500 and 1000 mg/mL by dimethyl sulfoxide. The solution of penicillin and streptomycin (penn/strep) was used as positive control. E. coli and S. aureus was cultured in Luria-Bertani broth (LB broth) at 100 rpm, 37 °C for 12 h. After the culture (100 µL) was spread onto an LB agar plate, a paper disc containing crude extract of various concentrations or penn/strep was put onto the agar. It was incubated at 37 °C for 12 h. Triplication of experiments was done. Clear zone of inhibition was recorded. The result showed that there was no clear zone of E. coli and S. aureus from all concentrations of crude methanol extracts of both bee pollens. In contrast, penn/strep was very potential in inhibiting the growth of E. coli and S. aureus, with the average diameter of clear zones of 3.03 and 2.53 cm, respectively. Due to oneway variance analysis (One-Way ANOVA) and Post hoc test, both crude extracts could not significantly inhibit the growth of E. coli and S. aureus (P=0.05). This obtained data are fundamental in considering the use of natural products as an alternative to inhibit foodborne pathogenic bacteria and its application to treat food borne disease. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อาหารเป็นพิษ -- การป้องกัน |
en_US |
dc.subject |
สารต้านแบคทีเรีย |
en_US |
dc.subject |
เกสรผึ้ง |
en_US |
dc.subject |
สารสกัดจากสัตว์ |
en_US |
dc.subject |
Food poisoning -- Prevention |
en_US |
dc.subject |
Antibacterial agents |
en_US |
dc.subject |
Bee pollen |
en_US |
dc.subject |
Animal extracts |
en_US |
dc.title |
ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเป็นพิษโดยสารสกัดเกสรผึ้งพันธุ์ Apis mellifera จากเรณูข้าวโพดหวาน Zea mays |
en_US |
dc.title.alternative |
The inhibiting activity of foodborne pathogenic bacteria by bee pollen extract of European honeybee Apis mellifera from pollen of sweet corn Zea mays |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |