Abstract:
ปัญหาจากศัตรูพืชในกล้วยไม้ โดยเฉพาะจากเชื้อราโรคพืชเข้าทำลายกล้วยไม้ เป็นหนึ่งในปัญหา ที่มีความสำคัญในการปลูกกล้วยไม้เพื่อจำหน่ายและส่งออกของประเทศไทย จากการศึกษาแบคทีเรียใน สกุล Bacillus พบว่าสามารถสร้างสาร lipopeptide ที่ใช้ควบคุมศัตรูพืชได้ และยังสามารถกระตุ้นกลไก การตอบโต้และการป้องกันตัวเองในพืช ซึ่งจัดว่าเป็นการควบคุมทางวิธีชีวภาพ (biological control) นอกจากนี้พบว่าแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens สามารถสร้าง lipopeptide ได้ แต่ยังไม่มี การนำมาทดลองเรื่องประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราที่ก่อโรคบนกล้วยไม้ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยใน ครั้งนี้คือเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของประสิทธิภาพของสารคัดหลั่งที่ผลิตจากแบคทีเรีย B. amyloliquefaciens สายพันธุ์ C59 ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแต่ละเชื้อราใน 5 ชนิดที่ก่อโรคใน กล้วยไม้ ได้แก่ Colletotrichum sp., Phyllosticta sp., Cladosporium sp., Sclerotium sp. และ Fusarium sacchari เริ่มต้นจากการผลิตสารคัดหลั่งจากแบคทีเรียสายพันธุ์ C59 จากนั้นนำมาทดสอบ ประสิทธิภาพของแบคทีเรียสายพันธุ์ C59 ต่อเชื้อราก่อโรคในพืชทั้ง 5 ชนิดในห้องทดลอง โดยทดสอบ บนอาหารเลี้ยงเชื้อผสม lipopeptide สำหรับปริมาณการผลิตสารคัดหลั่งจากแบคทีเรียสายพันธุ์ C59 พิจารณาจากผลการทดสอบ drop collapse test ได้เลือก Pterious Broth ในการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย เพื่อใช้ผลิตสาร lipopeptide ในการทดสอบการยับยั้งเชื้อราในห้องปฏิบัติการ พบว่า lipopeptide สามารถยับยั้งเชื้อราทั้ง 5 ชนิดแต่สามารถยับยั้ง Sclerotium. sp. ได้มีประสิทธิภาพที่สุด โดยมี เปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 87.17±2.43% ในวันที่ 7 รองลงมาเป็น Phyllosticta sp. เท่ากับ 70.56% ในวันที่ 7 ในขณะที่ F. sacchari, Cladosporium sp. และ Collectotrichum sp. สามารถถูกยับยั้งได้ บางส่วนมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 42.59±2.60% ในวันที่ 3, 55.14% ในวันที่ 7 และ 35.52±3.80% ในวันที่ 3 ตามลำดับ lipopeptide ทั้งนี้การยับยั้งเชื้อราทั้ง 5 ชนิด จาก lipopeptide ที่ผ่านการ autoclave พบว่า ส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราลดลง เนื่องจาก lipopeptide จะเกิดการ เสื่อมสภาพเมื่อผ่านอุณหภูมิสูง ดังนั้นอาจถูกนำไปใช้เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพในอุตสาหกรรมกล้วยไม้ ได้