DSpace Repository

การยับยั้งเชื้อราก่อโรคในกล้วยไม้โดยใช้ lipopeptide จากแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens

Show simple item record

dc.contributor.advisor เกรียง กาญจนวตี
dc.contributor.author ณัฐพงษ์ บุตรรักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-20T08:29:17Z
dc.date.available 2022-06-20T08:29:17Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78884
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract ปัญหาจากศัตรูพืชในกล้วยไม้ โดยเฉพาะจากเชื้อราโรคพืชเข้าทำลายกล้วยไม้ เป็นหนึ่งในปัญหา ที่มีความสำคัญในการปลูกกล้วยไม้เพื่อจำหน่ายและส่งออกของประเทศไทย จากการศึกษาแบคทีเรียใน สกุล Bacillus พบว่าสามารถสร้างสาร lipopeptide ที่ใช้ควบคุมศัตรูพืชได้ และยังสามารถกระตุ้นกลไก การตอบโต้และการป้องกันตัวเองในพืช ซึ่งจัดว่าเป็นการควบคุมทางวิธีชีวภาพ (biological control) นอกจากนี้พบว่าแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens สามารถสร้าง lipopeptide ได้ แต่ยังไม่มี การนำมาทดลองเรื่องประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราที่ก่อโรคบนกล้วยไม้ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยใน ครั้งนี้คือเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างของประสิทธิภาพของสารคัดหลั่งที่ผลิตจากแบคทีเรีย B. amyloliquefaciens สายพันธุ์ C59 ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแต่ละเชื้อราใน 5 ชนิดที่ก่อโรคใน กล้วยไม้ ได้แก่ Colletotrichum sp., Phyllosticta sp., Cladosporium sp., Sclerotium sp. และ Fusarium sacchari เริ่มต้นจากการผลิตสารคัดหลั่งจากแบคทีเรียสายพันธุ์ C59 จากนั้นนำมาทดสอบ ประสิทธิภาพของแบคทีเรียสายพันธุ์ C59 ต่อเชื้อราก่อโรคในพืชทั้ง 5 ชนิดในห้องทดลอง โดยทดสอบ บนอาหารเลี้ยงเชื้อผสม lipopeptide สำหรับปริมาณการผลิตสารคัดหลั่งจากแบคทีเรียสายพันธุ์ C59 พิจารณาจากผลการทดสอบ drop collapse test ได้เลือก Pterious Broth ในการเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย เพื่อใช้ผลิตสาร lipopeptide ในการทดสอบการยับยั้งเชื้อราในห้องปฏิบัติการ พบว่า lipopeptide สามารถยับยั้งเชื้อราทั้ง 5 ชนิดแต่สามารถยับยั้ง Sclerotium. sp. ได้มีประสิทธิภาพที่สุด โดยมี เปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 87.17±2.43% ในวันที่ 7 รองลงมาเป็น Phyllosticta sp. เท่ากับ 70.56% ในวันที่ 7 ในขณะที่ F. sacchari, Cladosporium sp. และ Collectotrichum sp. สามารถถูกยับยั้งได้ บางส่วนมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 42.59±2.60% ในวันที่ 3, 55.14% ในวันที่ 7 และ 35.52±3.80% ในวันที่ 3 ตามลำดับ lipopeptide ทั้งนี้การยับยั้งเชื้อราทั้ง 5 ชนิด จาก lipopeptide ที่ผ่านการ autoclave พบว่า ส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราลดลง เนื่องจาก lipopeptide จะเกิดการ เสื่อมสภาพเมื่อผ่านอุณหภูมิสูง ดังนั้นอาจถูกนำไปใช้เป็นตัวควบคุมทางชีวภาพในอุตสาหกรรมกล้วยไม้ ได้ en_US
dc.description.abstractalternative The problem of pest infestation in orchids, especially orchid-pathogenic fungi, is one of the most important problems in growing orchids for sale and export in Thailand. Studies of bacteria in the genus Bacillus have found that they can secrete lipopeptides used as pest biocontrol agents and stimulate the mechanism of retaliation against plant pathogens and self-defense in plants, classified as biological control. In addition, Bacillus amyloliquefaciens was found to produce lipopeptide, but no experiments were conducted on the effectiveness of inhibiting pathogenic fungi in orchids. Therefore, the purpose of this research is to study and compare the differences in secretion efficacy produced from the C59 strain of B. amyloliquefaciens to the growth of five pathogenic fungi species: Colletotrichum sp. , Phyllosticta sp., Cladosporium sp., Sclerotium sp. and Fusarium sacchari. The study started with the production of secretions from the C59 strain, then will be tested the effectiveness of the C59 species against five pathogenic fungi in the laboratory and on orchid plants. The production of C59 secretions measured by the drop collapse test, so Pterious broth was selected as a bacterial culture medium to produce lipopeptides. From the present studies, lipopeptides can inhibit five species of fungi. Lipopeptide was the most effective against Sclerotium sp. (87.17±2.43%; day 7), followed by Phyllosticta sp. (70.56%; day 7) F. sacchari, Cladosporium sp. and Collectotrichum sp. were partially inhibited by lipopeptide (42.59±2.60%; day 3, 55.14%; day 3 and 35.52±3.80%; day 7 respectively). The inhibition of five pathogenic fungi by the autoclaved lipopeptide was found to be less effective in inhibiting fungi because the lipopeptide deteriorates when exposed to high temperatures. Presumably, lipopeptides are likely to be used as biocontrol agents in the orchid industry. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กล้วยไม้ -- โรคและศัตรูพืช en_US
dc.subject โรคเกิดจากเชื้อราในพืช en_US
dc.subject Orchids -- Diseases and pests en_US
dc.subject Fungal diseases of plants en_US
dc.title การยับยั้งเชื้อราก่อโรคในกล้วยไม้โดยใช้ lipopeptide จากแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens en_US
dc.title.alternative Inhibition of orchid-pathogenic fungi by lipopeptides from Bacillus amyloliquefaciens en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record