DSpace Repository

การเจริญเติบโตของหนอนแมลงวันลาย (Diptera: Stratiomyidae) และความสามารถในการย่อยสลายกากจากการแปรรูปอาหาร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัชวาล ใจซื่อกุล
dc.contributor.author กัญญาวีร์ แก้วหลวง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-21T09:15:25Z
dc.date.available 2022-06-21T09:15:25Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78894
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract แมลงวันลาย (Diptera: Stratiomyidae) เป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดการขยะอินทรีย์ โดยหนอนของแมลงวันลายสามารถบริโภคและย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ถึง 70% ในขณะเดียวกันยังสามารถเปลี่ยนแปลงสารอินทรีย์เป็นชีวมวลร่างกายและปุ๋ยชีวภาพได้ ร้านค้าส่วนใหญ่ในเมืองที่มีการแปรรูปอาหารไม่ได้นำกากจากการแปรรูปไปใช้ประโยชน์เช่นการใช้เป็นอาหารสัตว์หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บางอย่างได้เนื่องจากข้อจำกัดในการจัดการภายในเมือง ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาการเจริญเติบโตของหนอนแมลงวันลาย (Diptera: Stratiomyidae) และความสามารถในการย่อยสลายกากจากการแปรรูปอาหาร 4 ชนิดที่พบได้ในเมืองคือ 1) กากถั่วเหลือง 2) กากมะพร้าว 3) กากกาแฟ และ 4) ชุดควบคุมโดยให้อาหารที่เลี้ยงเชิงพาณิชย์ (รำข้าวหยาบร้อยละ 40 กากน้ำตาลร้อยละ 40 และข้าวสารเหนียวร้อยละ 20) โดยใส่หนอน 20 ตัวในกากอาหาร 25 กรัม ในภาชนะ 650 mL ทั้งหมด 12 ซ้ำต่อกลุ่มการทดลอง เลี้ยงที่ 33 °C เป็นเวลา 14 วัน โดยวัดการเจริญของหนอนอายุ 6-14 วัน จากผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยน้ำหนักแห้งของหนอนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มอาหารต่าง ๆ (F=153.940, df=3, 44, p<0.001) โดยน้ำหนักแห้งของหนอนเมื่อสิ้นสุดการศึกษาที่เลี้ยงในถั่วเหลืองมีมากที่สุด (47.6±5.9 mg/ตัว) ตามมาด้วยกลุ่มควบคุม (37.7±5.2 mg/ตัว) กลุ่มกากมะพร้าว (10.7±6.9 mg/ตัว) และกลุ่มกากกาแฟ (5.1±4.8 mg/ตัว) ตามลำดับ ซึ่งค่าเฉลี่ยน้ำหนักแห้งของกลุ่มกากมะพร้าวและกากกาแฟไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และค่าเฉลี่ยน้ำหนักแห้งที่ลดลงของอาหารทั้ง 4 กลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F=589.909, df=3, 44, p<0.001) โดยน้ำหนักแห้งของกลุ่มกากถั่วเหลืองลดลงมากที่สุด (ร้อยละ 67.77±2.20) ตามมาด้วยกลุ่มควบคุม (ร้อยละ 64.38±1.31) กลุ่มกากมะพร้าว (ร้อยละ 32.04±1.61) และกลุ่มกากกาแฟ (ร้อยละ 15.54±0.73) ตามลำดับ กากถั่วเหลืองมีศักยภาพในการใช้เป็นอาหารเลี้ยงหนอนแมลงวันลายเชิงพาณิชย์ได้และหนอนแมลงวันลายสามารถช่วยลดปริมาณขยะจากกากการแปรรูปอาหารได้ ซึ่งควรมีการศึกษาสัดส่วนของกากจากการแปรรูปต่าง ๆ ในอนาคต จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นฐานข้อมูล และยังสามารถนำมาประยุกต์กับการแก้ปัญหาขยะมูลอินทรีย์ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการลดต้นทุนและเสริมรายได้จากการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย en_US
dc.description.abstractalternative Black soldier fly (Diptera: Stratiomyidae) is considered one of alternative waste management options because the larvae of black soldier fly can consume up to 70% of organic matter degraded. At the same time, it can also convert organic matter into body biomass and create bio-fertilizers. Most of the urban shops with waste from processed food did not continue to utilize the waste as animal feed or process into other products due to management restrictions within the city. Therefore, the researcher is interested to study the growth of black soldier fly larvae (Diptera: Stratiomyidae) and the ability to degrade the waste from urban food processing by adding 20 larvae to 25 g of food waste of 1) soybean meal 2) coconut meal 3) used coffee grounds 4) control of commercial feed (Coarse rice bran 40% Molasses 40% and Sticky rice 20%) in 650 mL containers with 12 replications treatment at 33°C for 14 days. The growth of larvae was measured during 6-14 days. The results of this study found that the mean dry larval weight at the end of experiment was significantly different between the food groups (F = 153.754, df = 3, 44, p <0.001), with the dry weight of the larvae grown in soybean meal was the highest (47.6±5.9 mg/indv.) followed by a control (37.7±5.2 mg/indv.), coconut meal (10.7±6.9 mg/indv.) and used coffee grounds (5.1±4.8 mg/indv.), respectively, with no significant difference between coconut meal and used coffee grounds. Mean dry weight loss of food from the four treatments was significantly different (F=589.909, df=3, 44, p<0.001) with highest reduction found in soybean meal (67.77±2.20%) followed by control (64.38±1.31%), coconut meal (32.04±1.61%), and used coffee grounds (15.54±0.73%), respectively. Soybean meal has potential to use as commercial feed for soldier fly larvae, and soldier fly larvae can be used to reduce waste from food processing which should be further explored for mixture ratio of these wastes. The study provides the information of larvae of black soldier reared in different processed food waste. And it and can also be applied to solve the problem of unmanaged organic waste properly to reduce waste management costs and enhance revenue from black soldier fly larvae. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แมลงวัน en_US
dc.subject ขยะอินทรีย์ -- การย่อยสลายทางชีวภาพ en_US
dc.subject Flies en_US
dc.subject Organic wastes -- Biodegradation en_US
dc.title การเจริญเติบโตของหนอนแมลงวันลาย (Diptera: Stratiomyidae) และความสามารถในการย่อยสลายกากจากการแปรรูปอาหาร en_US
dc.title.alternative Growth of black soldier fly larvae (Diptera: Stratiomyidae) and their ability to decompose food processing wastes en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record