Abstract:
โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขหลักของโลก ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจพบความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งหลอดเลือดที่สมองด้วย จากการรายงานพบว่าความ ดันเลือดที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างของหลอดเลือดขนาดเล็กที่สมอง ส่งผลให้ปริมาณ เลือดที่ไปที่สมองลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดสมองขาดเลือดและสมองถูกทำลายได้ อย่างไรก็ตามใน ปัจจุบันการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและกลไกที่เกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองโดยเฉพาะในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัสยังมีข้อมูลที่ไม่แน่ชัด ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติของหลอดเลือดในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัสในหนูแรทความดันโลหิตสูงชนิดเกิดขึ้นได้ เอง(spontaneously hypertensive rat; SHR) นำหนู SHR และหนูความดันปกติ (WT) เพศผู้ที่มีอายุ เท่ากัน ได้แก่ 6, 12, 24 และ 36 สัปดาห์ ทำการการุณยฆาตและเก็บสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโป แคมปัสมาทำการตรวจสอบการแสดงออกของ mRNA ของยีนที่เป็นเครื่องหมายของความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ได้แก่ endothelial growth factor (VEGF) และ S100β โดยเทคนิค quantitative real-time reverse transcription polymerase chain reaction (qRT-PCR) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ที่เพิ่มขึ้นและการแสดงออกของ S100β และ VEGF ในสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์แบะฮิปโปแคมปัส ของหนูกลุ่ม WT และ SHR พบว่าอายุที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อการแสดงออกของ S100β และ VEGF ในหนูทั้งสอง กลุ่ม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง WT และ SHR ในแต่ละช่วงอายุพบว่า ที่อายุ 6 สัปดาห์การ แสดงออกของ S100β ที่สมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัสของหนู SHR มากกกว่าหนูกลุ่ม WT อย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ 12, 24 และ 36 สัปดาห์ ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของการ แสดงออกของ VEGF ที่บริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัส ของหนูทั้งสองกลุ่มในทุกช่วงอายุ แสดง ให้เห็นว่าความดันโลหิตที่สูงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ หลอดเลือดสมองและพบได้ตั้งแต่ช่วงแรกของการเกิดความดันโลหิตสูง