DSpace Repository

การเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ส่วนฮิปโปแคมปัสและซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของหนูแรทความดันโลหินสูงชนิดเกิดขึ้นได้เอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor วัชราภรณ์ ติยะสัตย์กุลโกวิท
dc.contributor.advisor สุกัญญา เจริญพร
dc.contributor.author เกด พรถวัลย์ศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-22T01:57:34Z
dc.date.available 2022-06-22T01:57:34Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78897
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract โรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขหลักของโลก ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอาจพบความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งหลอดเลือดที่สมองด้วย จากการรายงานพบว่าความ ดันเลือดที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างของหลอดเลือดขนาดเล็กที่สมอง ส่งผลให้ปริมาณ เลือดที่ไปที่สมองลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุโน้มนำให้เกิดสมองขาดเลือดและสมองถูกทำลายได้ อย่างไรก็ตามใน ปัจจุบันการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและกลไกที่เกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติของหลอดเลือดในสมองโดยเฉพาะในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัสยังมีข้อมูลที่ไม่แน่ชัด ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติของหลอดเลือดในซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัสในหนูแรทความดันโลหิตสูงชนิดเกิดขึ้นได้ เอง(spontaneously hypertensive rat; SHR) นำหนู SHR และหนูความดันปกติ (WT) เพศผู้ที่มีอายุ เท่ากัน ได้แก่ 6, 12, 24 และ 36 สัปดาห์ ทำการการุณยฆาตและเก็บสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโป แคมปัสมาทำการตรวจสอบการแสดงออกของ mRNA ของยีนที่เป็นเครื่องหมายของความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ได้แก่ endothelial growth factor (VEGF) และ S100β โดยเทคนิค quantitative real-time reverse transcription polymerase chain reaction (qRT-PCR) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ที่เพิ่มขึ้นและการแสดงออกของ S100β และ VEGF ในสมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์แบะฮิปโปแคมปัส ของหนูกลุ่ม WT และ SHR พบว่าอายุที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อการแสดงออกของ S100β และ VEGF ในหนูทั้งสอง กลุ่ม เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง WT และ SHR ในแต่ละช่วงอายุพบว่า ที่อายุ 6 สัปดาห์การ แสดงออกของ S100β ที่สมองส่วนซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัสของหนู SHR มากกกว่าหนูกลุ่ม WT อย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ 12, 24 และ 36 สัปดาห์ ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของการ แสดงออกของ VEGF ที่บริเวณซีรีบรัลคอร์เท็กซ์และฮิปโปแคมปัส ของหนูทั้งสองกลุ่มในทุกช่วงอายุ แสดง ให้เห็นว่าความดันโลหิตที่สูงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ หลอดเลือดสมองและพบได้ตั้งแต่ช่วงแรกของการเกิดความดันโลหิตสูง en_US
dc.description.abstractalternative Hypertension is one of the major healthcare problems worldwide. Hypertensive patients exhibited cardiovascular symptoms as well as damaged blood vessels in the brain. There are reports demonstrating that high blood pressure impacts on the changes of vascular structure of small vessel in cerebrum, reduces cerebral blood supply, and increases the susceptibility of the brain to ischemic resulting in brain damage. However, the relationship between the period of hypertension and the mechanisms underlying hypertension-related vascular dysfunction in brain, especially in cerebral cortex and hippocampus are poorly understood and need to be elucidated. Therefore, this study is aimed to determine changes of vascular dysfunction-related genes in cerebral cortex and hippocampus of spontaneously hypertensive rat (SHR), the animal model of essential hypertension in humans. Male SHR with age-matched normotensive control rats (WT) at the age of 6, 12, 24 and 36 weeks were used to address this relationship. Animals were euthanized, cerebral cortex and hippocampus were collected to determine the mRNA expression of vascular dysfunction marker genes including vascular endothelial growth factor (VEGF) and S100β by quantitative real-time reverse transcription polymerase chain reaction (qRT-PCR) techniques. The results showed an advancing age did not affect mRNA expression of S100β and VEGF in cerebral cortex and hippocampus of both WT and SHR. When compare between WT and SHR with age-matched group, the result demonstrated that at the age of 6 weeks, the expression of S100β and VEGF in cerebral cortex and hippocampus were significantly increased in SHR. However, these changes did not show at the age of 12, 24 and 36 weeks. In addition, the expression of VEGF in cerebral cortex and hippocampus did not change in both WT and SHR. These results suggesting that hypertension affects the changes of vascular dysfunctionrelated genes in cerebral cortex and hippocampus which could be detected at the onset of hypertension. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความดันเลือดสูง en_US
dc.subject หลอดเลือดแดงสมอง -- ภาวะตีบแคบ en_US
dc.subject Hypertension en_US
dc.subject Cerebral arteries -- Stenosis en_US
dc.title การเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ส่วนฮิปโปแคมปัสและซีรีบรัลคอร์เท็กซ์ของหนูแรทความดันโลหินสูงชนิดเกิดขึ้นได้เอง en_US
dc.title.alternative Changes of vascular dysfunction-related genes in the hippocampus and cerebral cortex of spontaneously hypertensive rats en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record