Abstract:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วนถือเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่สำคัญทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพตามมา ความชุกของโรคเบาหวานและโรคอ้วนนั้นยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น อาหารการกิน การออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวัน มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วน แบคทีเรียในลำไส้เป็นตัวเชื่อมระหว่างร่างกายมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีหลักฐานว่าแบคทีเรียในลำไส้นี้มีผลต่อระบบเมตะบอลิสมในร่างกายและการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในลำไส้สัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วน ในการศึกษานี้ ทำการตรวจหาประชากรแบคทีเรียในลำไส้ด้วยวิธี 16S metagenomic based next-generation sequencing (NGS) จากตัวอย่างอุจจาระของอาสาสมัครทั้งหมด 81 ราย โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคอ้วน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำหนักตัวปกติ กลุ่มควบคุมที่มีโรคอ้วน และกลุ่มควบคุมที่มีน้าหนักตัวปกติ ผลการวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของแบคทีเรียใน 4 Phyla หลักจากตัวอย่างอุจจาระ คือ Bacteroidetes, Firmicutes, Proteobacteria และ Fusobacteria นั้น ไม่พบความแตกต่างในความอุดมสมบูรณ์ของประชากรแบคทีเรียในลำไส้ใน 4 Phyla หลักระหว่างอาสาสมัครทั้ง 4 กลุ่ม ซึ่งผลที่ได้แตกต่างจากการศึกษาก่อนหน้านี้ที่พบว่าสัดส่วนของแบคทีเรียในกลุ่ม Firmicutes ลดลงในกลุ่มเบาหวานและสัดส่วนของ Bacteroidetes ลดลงในคนที่มีโรคอ้วน ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดกลุ่มของแบคทีเรียในระดับ family หรือ genus อาจให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เพิ่มเติมได้
Type 2 diabetes mellitus and obesity are chronic diseases that can lead to increases in morbidity and mortality. Prevalence of diabetes and obesity is still on the rise. Environmental factors including diet, physical activity, and lifestyle may affect the risk of developing diabetes and obesity. Gut microbiota is considered to be a connection between human body and an environment. Several lines of evidence have shown that gut microbiota can influence human metabolism and may play a role in diabetes and obesity. In this study, we examined fecal microbiota using 16S metagenomic based next-generation sequencing (NGS). Stool samples were collected from 81 volunteers. Subjects were classified into 4 groups: obese diabetic, lean diabetic, obese control, and lean control. We found similar abundance levels of Bacteroidetes, Firmicutes, Proteobacteria and Fusobacteria among all groups of subjects. The results are contrary to previous studies that have shown a decrease in Firmicutes in diabetes and a decrease in Bacteroidetes in obesity. Further analysis of microbiota at a family and genus levels may yield additional useful information.