Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78904
Title: รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนงานวิจัยเพื่อองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ทางคลินิกในคนไข้ที่มีภาวะโรคอ้วนและโรคเบาหวาน
Other Titles: การวิเคราะห์ไมโครไบโอมในทางเดินอาหารของคนผอมและคนอ้วนที่เป็นและไม่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ผลของอาหารพลังงานต่ำมากแบบมีเว้นระยะ ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลและปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไข้อ้วนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
Authors: วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ
พัชญา บุญชยาอนันต์
มงคลธิดา อัมพลเสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ลำไส้ -- จุลชีววิทยา
เบาหวาน -- โภชนบำบัด
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วนถือเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่สำคัญทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพตามมา ความชุกของโรคเบาหวานและโรคอ้วนนั้นยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น อาหารการกิน การออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวัน มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วน แบคทีเรียในลำไส้เป็นตัวเชื่อมระหว่างร่างกายมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีหลักฐานว่าแบคทีเรียในลำไส้นี้มีผลต่อระบบเมตะบอลิสมในร่างกายและการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียในลำไส้สัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานและโรคอ้วน ในการศึกษานี้ ทำการตรวจหาประชากรแบคทีเรียในลำไส้ด้วยวิธี 16S metagenomic based next-generation sequencing (NGS) จากตัวอย่างอุจจาระของอาสาสมัครทั้งหมด 81 ราย โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคอ้วน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำหนักตัวปกติ กลุ่มควบคุมที่มีโรคอ้วน และกลุ่มควบคุมที่มีน้าหนักตัวปกติ ผลการวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของแบคทีเรียใน 4 Phyla หลักจากตัวอย่างอุจจาระ คือ Bacteroidetes, Firmicutes, Proteobacteria และ Fusobacteria นั้น ไม่พบความแตกต่างในความอุดมสมบูรณ์ของประชากรแบคทีเรียในลำไส้ใน 4 Phyla หลักระหว่างอาสาสมัครทั้ง 4 กลุ่ม ซึ่งผลที่ได้แตกต่างจากการศึกษาก่อนหน้านี้ที่พบว่าสัดส่วนของแบคทีเรียในกลุ่ม Firmicutes ลดลงในกลุ่มเบาหวานและสัดส่วนของ Bacteroidetes ลดลงในคนที่มีโรคอ้วน ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดกลุ่มของแบคทีเรียในระดับ family หรือ genus อาจให้ข้อมูลที่มีประโยชน์เพิ่มเติมได้ Type 2 diabetes mellitus and obesity are chronic diseases that can lead to increases in morbidity and mortality. Prevalence of diabetes and obesity is still on the rise. Environmental factors including diet, physical activity, and lifestyle may affect the risk of developing diabetes and obesity. Gut microbiota is considered to be a connection between human body and an environment. Several lines of evidence have shown that gut microbiota can influence human metabolism and may play a role in diabetes and obesity. In this study, we examined fecal microbiota using 16S metagenomic based next-generation sequencing (NGS). Stool samples were collected from 81 volunteers. Subjects were classified into 4 groups: obese diabetic, lean diabetic, obese control, and lean control. We found similar abundance levels of Bacteroidetes, Firmicutes, Proteobacteria and Fusobacteria among all groups of subjects. The results are contrary to previous studies that have shown a decrease in Firmicutes in diabetes and a decrease in Bacteroidetes in obesity. Further analysis of microbiota at a family and genus levels may yield additional useful information.
Other Abstract: ที่มา/วัตถุประสงค์ การจำกัดพลังงานในอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะอ้วนร่วมด้วยโดยการรับประทานอาหารพลังงานต่ำมากเพียงอย่างเดียว สามารถทำให้เกิดการสงบของเบาหวานได้ แต่ยังมีข้อจำกัด คือ ผลดีทางคลินิกมักหายไปภายหลังสิ้นสุดการศึกษา การรับประทานอาหารพลังงานต่ำมากแบบมีเว้นระยะด้วยวิธีการต่างๆ อาจได้ผลดีในระยะยาวมากกว่า การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในทางคลินิคของการรักษาด้วยวิธีการโภชนบำบัดโดยการจำกัดพลังงานในอาหารแบบมีเว้นระยะ 2 วันและ 4 วันต่อสัปดาห์ ที่มีผลต่อการสงบของโรคเบาหวาน สมดุลน้ำตาล การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิสมและองค์ประกอบของร่างกาย คุณภาพชีวิต รวมทั้งการทำงานของเบต้าเซลล์ และภาวะดื้อต่ออินซูลิน ประชากรและวิธีการศึกษา ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะอ้วนร่วมด้วยจำนวน 40 ราย เข้าร่วมการศึกษา มีอายุเฉลี่ย 40.6 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 36.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการแบ่งกลุ่มแบบสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (12 ราย) กลุ่มที่ได้รับการจำกัดพลังงานในอาหาร (600 กิโลแคลอรี่ต่อวัน) แบบมีเว้นระยะ 2 วันต่อสัปดาห์ (14 ราย) และ 4 วันต่อสัปดาห์ (14 ราย) เป็นเวลา 20 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการตรวจเลือด ตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกาย และตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ 0, 2, 10 และ 20 สัปดาห์ ผลการวิจัย ที่ 20 สัปดาห์ พบการสงบของเบาหวาน เฉพาะในกลุ่มที่ได้การจำกัดพลังงานในอาหารแบบมีเว้นระยะ 2 วันและ 4 วันต่อสัปดาห์ กลุ่มละ 4 ราย ผู้เข้าร่วมการศึกษาสามารถหยุดยาได้ จำนวน 7, 9 และ 12 คน คิดเป็น 58%, 63% และ 86% ในกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับการจำกัดพลังงานในอาหารแบบมีเว้นระยะ 2 วันต่อสัปดาห์ และ 4 วันต่อสัปดาห์ ตามลำดับ ในกลุ่มที่ได้การจำกัดพลังงานในอาหารแบบมีเว้นระยะ 2 วันและ 4 วันต่อสัปดาห์ พบการลดลงของระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังการทดสอบการตอบสนองต่อน้ำตาลกลูโคส และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบการลดลงของระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (%Fat) มวลไขมันในร่างกาย (fat mass) มวลไร้ไขมัน (fat free mass) และมวลกล้ามเนื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน สมดุลของระดับน้ำตาลที่ดีขึ้น สัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลินที่ลดลงและการหลั่งอินซูลินที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตพบว่าดีขึ้นเช่นกัน โดยไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรง นอกจากนี้ ในกลุ่มที่ได้การจำกัดพลังงานในอาหารแบบมีเว้นระยะ 4 วันต่อสัปดาห์ พบการลดลงของ ความดันโลหิต SBP และ DBP และ ค่าเอนไซม์ตับ AST และ ALT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย การจำกัดพลังงานในอาหารแบบมีเว้นระยะ 2 วันและ 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 20 สัปดาห์ ได้ผลดีในการควบคุมเบาหวาน โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และการจำกัดพลังงานแบบมีเว้นระยะ 4 วันต่อสัปดาห์พบการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าการจำกัดพลังงานในอาหารแบบมีเว้นระยะ 2 วันต่อสัปดาห์ Aim/ Hypothesis: Caloric restriction in patients with type 2 diabetes mellitus and obesity can induce diabetes remission but the beneficial effects often disappear after discontinuation of caloric restriction. Intermittent caloric restriction may be beneficial in the long term. This study aims to examine the effects of intermittent caloric restriction by means of very-low calorie diet (2 and 4 days/week) on diabetes remission, glucose homeostasis, metabolic and anthropometric changes, quality of life, as well as beta cell function and insulin resistance. Method: Forty-two patients with type 2 diabetes and obesity (mean age 40.6 years, BMI 36.9 kg/m²) were enrolled. Participants were randomly assigned into 3 groups (control [n=12], intermittent VLCD 2 days/week [n=14] and intermittent VLCD 4 days/week [n=14]) for 20 weeks. They received blood tests, anthropometric measurement and answered the quality of life questionnaire at weeks 0, 2, 10 and 20. Results: At 20 weeks, diabetes remission was found only in the intermittent VLCD 2 days/week and the 4 days/week groups (4 each). Anti-diabetic medications were successfully withdrawn in 7, 9 and 12 subjects, representing 58%, 63% and 86%, in the control, the intermittent VLCD 2 days/week and the intermittent VLCD 4 days/week groups, respectively. In both the intermittent VLCD 2 days/week and the intermittent VLCD 4 days/week groups, there were significant decreases in FPG, 2 hr glucose after a 75 gm OGTT, and HbA1C. In addition, triglyceride level, body weight, BMI, body fat percentage, fat mass, fat free mass and muscle mass were significantly decreased. Improvement in glycemic control was associated with a reduction in a decrease in insulin resistance. Quality of life was also significantly increased in borth VLCD groups. No serious adverse events were observed. Moreover, in the intermittent VLCD 4 days/week group, there were significant decreases in SBP, DLP, AST and ALT. Conclusion: Intermittent dietary caloric restriction (2 days/week and 4 days/week) for 20 weeks was highly effective in rapidly achieving glycemic control without serious adverse events. Improvements in the intermittent VLCD 4 days/week were more pronounced than those in the intermittent VLCD 2 days/week.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78904
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Med_Weerapan Khovidhunkit_2017.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.