DSpace Repository

การวิเคราะห์กลไกการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศนิวซีแลนด์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สันติ ภัยหลบลี้
dc.contributor.author วชร พุ่มหอม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-22T04:20:03Z
dc.date.available 2022-06-22T04:20:03Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78905
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract การชนกันและการมุดตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลียกับแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกส่งผลให้ประเทศนิวซีแลนด์มีภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิสูง โดยจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษานี้คือ เพื่อประเมินรูปแบบกลไกการเลื่อนตัวของแหล่งกำเนิดในประเทศนิวซีแลนด์ ในการศึกษานี้ ใช้ข้อมูลจำนวน 477 เหตุการณ์รวบรวมจากฐานข้อมูลกลไกการเกิดแผ่นดินไหวของหน่วยงาน Global CMT ซึ่งข้อมูลกลไกการเกิดแผ่นดินไหวในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูลการวางตัวและการเลื่อนตัว ของรอยเลื่อน จากนั้นข้อมูลสามารถจัดแบ่งออกเป็น 2 ชุดข้อมูล ตามสภาพแวดล้อมธรณีแปรสัณฐาน (seismotectonic setting) ได้แก่ แผ่นดินไหวที่เกิดระหว่างขอบของการชนกันของแผ่นเปลือกโลกซึ่งมีความลึกอยู่ที่ 0-50 กิโลเมตร และแผ่นดินไหวที่เกิดบริเวณแผ่นที่มุดลงไปในชั้นเนื้อโลกซึ่งมีความลึกมากกว่า 50 กิโลเมตร ในกรณีของแผ่นดินไหวที่เกิดระหว่างขอบของการชนกันของแผ่นเปลือกโลก ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ร่องลึกก้นสมุทรไพรเซอเกอร์ (Puysegur Trench) และแอ่งฮิคุระงิ (Hikurangi Trench) เป็นพื้นที่อ่อนไหวต่อการเป็นแหล่งกำเนิดสึนามิ (susceptible tsunami source) มากที่สุด หากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น นอกจากนี้บริเวณรอยเลื่อนอัลไพน์ (Alpine Fault) สามารถแบ่งขอบเขตแต่ละบริเวณเพื่อให้มีข้อมูลกลไกการเกิดแผ่นดินไหวที่เฉพาะตัวมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์อัตราการเกิดแผ่นดินไหวตาม (aftershock) หากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้น สำหรับแผ่นดินไหวที่เกิดบริเวณแผ่นที่มุดลงไปในชั้นเนื้อโลก ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าแผ่นเปลือกโลกถูกบีบอัดในความลึกระหว่าง 300-528 กิโลเมตร ในขณะที่ความลึกปานกลาง 50-300 กิโลเมตร แผ่นเปลือกโลกถูกดึงด้วยแรงดึงจากข้างใต้แผ่นเปลือกโลก ดังนั้น นอกจากพิบัติภัยแผ่นดินไหวแล้ว ควรมีการศึกษาการบรรเทาพิบัติภัยสึนามิบริเวณร่องลึกไพรเซอเกอและแอ่งฮิคุระงิ en_US
dc.description.abstractalternative From the collision and subduction between the Australian and Pacific tectonic plates, New Zealand is exposed to high earthquake and tsunami hazards. The main aim of this study is to evaluate the patterns of the faulting mechanisms in New Zealand. In this study, a total of 477 focal mechanism solutions were obtained from the Global CMT catalog. The data contain information on fault plane orientation and fault movement. Seismotectonically, the data were divided into 2 settings, interplate earthquake has a focal depth between 0-50 km and intraslab earthquake have a focal depth more than 50 km. The result suggested that, in the case of interplate earthquake, the Puysegur Trench and Hikurangi Trench Zone, both of which are defined as reverse faulting regions, can generate relatively high susceptible tsunami source. Additionally, the Alpine Fault area can be divided into individual regions to have just a more unique focal mechanism data. This is a benefit for analyzing the aftershock according to if an earthquake occurs, the result showed that the slabs are experiencing down-dip compression between the depths of 300-528 km, while at intermediate depths (50-300 km) the slabs are experiencing down-dip extension. Also, apart from the earthquake, tsunami mitigation should be conducted in the Puysegur Trench and Hikurangi Trench zone. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject พยากรณ์แผ่นดินไหว -- นิวซีแลนด์ en_US
dc.subject Earthquake prediction -- New Zealand en_US
dc.title การวิเคราะห์กลไกการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศนิวซีแลนด์ en_US
dc.title.alternative Analysis of Focal Mechanism in New Zealand en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record