DSpace Repository

การวิเคราะห์สันเขาในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สันติ ภัยหลบลี้
dc.contributor.author กมลวรรณ ทองดี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-06-22T06:30:58Z
dc.date.available 2022-06-22T06:30:58Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78911
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract สันเขาเป็นลักษณะทางธรณีสัณฐานที่เกิดขึ้นจากการแปรสัณฐานร่วมกับกระบวนการผุพังอย่างหนึ่ง โดยสันเขาเหล่านี้มีรูปร่างที่ไม่เป็นระเบียบ ซึ่งค่าหนึ่งที่สามารถนำมาใช้อธิบายความไม่เป็นระเบียบนี้ได้ คือ ค่ามิติแฟร็กทัล การศึกษานี้จึงสนใจการคำนวณหาค่ามิติแฟร็กทัลของแนวเส้นสันเขาในประเทศไทย โดยการแบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็นช่องเล็กที่มีขนาดเท่า ๆ กัน ซึ่งมิติแฟร็กทัลที่ใช้ในการวิเคราะห์ในการศึกษานี้มี 2 วิธี คือ การวิเคราะห์แฟร็กทัลด้วยวิธีบอกซ์เค้าน์ติ้งและวิเคราะห์ค่ามิติสหสัมพันธ์ นำมาประกอบกับข้อมูลความหนาแน่นของเส้นสันเขาและแนวโน้มการวางตัวของเส้นสันเขาผ่านแผนภาพกุหลาบ เพื่อนำไปใช้ในประกอบกับข้อมูลธรณีสัณฐานเพื่ออธิบายขอบเขตของธรณีแปรสัณฐานที่แตกต่างกัน ผลการวิเคราะห์พบว่าทิศทางหลักของแนวเส้นสันเขาอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก อย่างไรก็ตามแนวทิศทางสันเขาในแนวนี้จะเป็นแนวเส้นสันเขารองที่แตกแขนงออกมาจากเส้นสันเขาหลักที่มีการวางตัวไปในทิศทางเดียวกับแนวเทือกเขาของแต่ละเทือกเขา การเกิดของแนวเทือกเขาหลัก ๆ ของประเทศไทยสอดคล้องกับเหตุการณ์แปรสัณฐาน 3 เหตุการณ์คือ การก่อเกิดเทือกเขาอินโดไซเนียนและการชนของแผ่นเปลือกโลกพม่าตะวันตกเข้ากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ซึ่งเหตุการณ์ทั้ง 2 มีแรงที่กระทำหลักอยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตก จะทำให้เกิดแนวสันเขาที่อยู่ในแนวเหนือ-ใต้และอีกเหตการณ์หนึ่ง คือ การก่อเกิดเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นแรงกระทำในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้แนวเทือกเขาที่เกิดอยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตก ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์แฟร็กทัลมีค่าตั้งแต่ 0.20 ถึง 2.97 และพบว่าแผนที่กระจายเชิงพื้นที่มีการแสดงผลไปตามแนวลองติจูด ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กับการวางตัวของเส้นสันเขาในพื้นที่ได้และจากการวิเคราะห์ค่าแฟร็กทัลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีบอกซ์เคาน์ติ้งทีค่าตั้งแต่ 0.40 ถึง 1.69 พบว่าบริเวณที่มีค่าแฟร็กทัลสูงเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของเส้นสันเขาสูง สอดคล้องกับบริเวณที่มีการเกิดกระบวนการแปรสัณฐานและบริเวณที่มีค่าแฟร็กทัลต่ำเป็นบริเวณที่มีความหนาแน่นของเส้นสันเขาต่ำ สอบคล้องกับบริเวณที่ราบที่มีการสะสมของตะกอน en_US
dc.description.abstractalternative Mountain ridge is a geological feature on the Earth’s surface, that is formed by tectonic events and weathering or erosion process. These mountain ridge lines exhibit irregular geometry that could be described as fractal dimensions. There were two methods of fractal dimensions used in this study: fractal analysis by box-counting dimension and correlation dimension. Association with a density and orientation of the ridge to describe the boundaries of the tectonic events. The analysis results show that the main orientations of the ridge line are in the East-West trend. However, this trend is a secondary ridge that brandches out from the main ridge line. The formation of the mountain range in Thailand corresponds to three tectonic events: Indosinian orogeny and the collision of the Western Burma tectonic plate into the Eurasian tectonic plate. Both events are East-West compression forces that created the North-South ridge line. Including another event is the Himalayan orogeny which is North-South compression forces that created the East-West ridge line The value of the correlation dimension ranges from 0.20 to 2.97 in 15x15 km² Grid size. The spatial map of correlation map shows values along the longitude. Which couldn’t explain the relationship with ridge line data. The value of fractal dimension ranges from 0.40 to 1.69 in 15x15 km² grid size. Area with high fractal values associated with high-density ridge line that corresponds to the area where the tectonic process has occurred. While area with low fractal values related to the low-density ridge line that corresponds to the plain area with sediment accumulation. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภูเขา -- ไทย en_US
dc.subject การสำรวจทางธรณีวิทยา en_US
dc.subject Mountains -- Thailand en_US
dc.subject Geological surveys en_US
dc.title การวิเคราะห์สันเขาในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Mountain ridge analysis in Thailand en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record