Abstract:
ไซยาโนแบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการสังเคราะห์แสง สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ใน สภาพแวดล้อมที่หลากหลาย แม้กระทั่งในสภาพแวดล้อมสุดขั้ว โดยหนึ่งในไซยาโนแบคทีเรียที่น่าสนใจ คือ Halothece sp. PCC7418 ที่สามารถอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเค็มสูงได้ โดยกลไกสำคัญที่ทำให้ไซ ยาโนแบคทีเรียสามารถดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ คือการมีระบบรับส่งสัญญาณที่เรียกว่า two component system (TCS) มีหน้าที่หลักในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อม ซึ่ง ระบบดังกล่าวจะประกอบด้วยโปรตีน histidine kinase (HK) ทำหน้าที่รับสัญญาณสิ่งแวดล้อม และ response regulator (RR) ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของเซลล์ นอกจากนี้ยังพบโปรตีน รูปแบบอื่น คือ hybrid kinases (HyK) จากการสืบค้นข้อมูลจีโนมของ Halothece sp. PCC7418 พบว่ามียีน ในกลุ่ม RR 44 ยีน โดยเลือกมาศึกษา 17 ยีน ได้แก่ PCC7418_0084, PCC7418_0225, PCC7418_0226, PCC7418_0392, PCC7418_0469, PCC7418_0612, PCC7418_0618, PCC7418_0623, PCC7418_0892, PCC7418_1006, PCC7418_1046, PCC7418_1070, PCC7418_1116, PCC7418_1120, PCC7418_1121, PCC7418_1355, และPCC7418_1501 จากนั้นนำมาวิเคราะห์การ แสดงออกของยีนภายใต้ภาวะเครียดจากเกลือโซเดียมคลอไรด์ ความเข้มข้น 2.0 โมลาร์ ด้วยวิธี semiquantitative RT-PCR พบว่า ยีน PCC7418_0612, PCC7418_1070, PCC7418_0892 และ PCC7418_1355 มีระดับการแสดงออกเพิ่มขึ้น (up-regulated) อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่ายีน PCC7418_1116, PCC7418_1006, PCC7418_0225 และ PCC7418_0623 มีระดับการแสดงออกลดลง (down-regulated) อย่างมีนัยสำคัญ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า RR มีหน้าที่สำคัญต่อการปรับตัวของ Halothece sp.PCC7418 ภายใต้ภาวะเครียดจากเกลือ