Abstract:
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงทั่วโลก แม้ว่าจะมีวิธีการรักษาได้หลากหลาย วิธีแต่มักมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ในขณะที่สารสกัดจากสมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์ต้านทานมะเร็ง แต่มีผลข้างเคียงน้อยลง มีรายงานว่าสารสกัดจากใบแปะตำปึง (Gynura procumbens (Lour.) Merr.) มีความสามารถในการต้านมะเร็งเต้านมและมะเร็งกระดูกได้และอาจส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วย น้อย งานวิจัยนี้จึงศึกษาผลของสารสกัดจากใบแปะตำปึงที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ และเทียบระหว่างใบ อ่อนและใบแก่ต่อการมีชีวิตของเซลล์มะเร็งปากมดลูกชนิด C33a และ SiHa และการแสดงออกของ ยีน BCL2 และ BAX ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอะพอพโทซิส ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบแปะ ตำปึงจากสามแหล่งคือ ชัยภูมิ ชลบุรี กรุงเทพฯ มีผลต่อการมีชีวิตของเซลล์ในเซลล์มะเร็งปากมดลูก ทั้งสองชนิดแตกต่างกัน โดยสารสกัดจากใบแปะตำปึงมีฤทธิ์ในการลดการมีชีวิตของเซลล์ SiHa ได้ มากที่สุดคือสารสกัดจากใบแปะตำปึงอ่อนจากจังหวัดกรุงเทพฯ ซึ่งมีค่า LC₅₀ เท่ากับ 625.47 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัดจากใบแก่จากจังหวัดชลบุรีมีฤทธิ์ลดการมีชีวิตของเซลล์ C33a ได้ มากที่สุด โดยมีค่า LC₅₀ เท่ากับ 143.43 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตาม พบว่าสารสกัดจากใบ แปะตำปึงไม่มีผลต่อการแสดงออกของยีน BCL2 และยีน BAX ในเซลล์มะเร็งปากมดลูกทั้งสองชนิด อย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นพื้นฐานของการพัฒนายารักษา มะเร็งปากมดลูกต่อไปในอนาคต