DSpace Repository

ภาพยนตร์ไทยกับการสร้างการรับรู้ปัญหาสังคม ทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2530

Show simple item record

dc.contributor.advisor ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
dc.contributor.author อภิสิทธิ์ ปานอิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-01T03:39:14Z
dc.date.available 2022-07-01T03:39:14Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79073
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสังคมของภาพยนตร์ไทยในทศวรรษ 2510 – 2530 ผ่านภาพยนตร์แนวปัญหาสังคมจำนวน 12 เรื่อง ร่วมกับเอกสารประเภทอื่น ๆ อาทิ ข่าวหนังสือพิมพ์ วรรณกรรม โปสเตอร์ภาพยนตร์ บทสัมภาษณ์ผู้กำกับภาพยนตร์ และคอลัมน์วิจารณ์ภาพยนตร์ร่วมสมัย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการถกเถียงปัญหาสังคมในพื้นที่สาธารณะกับการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสังคมนั้น ๆ ของภาพยนตร์ไทย ปัญหาสังคมไทยที่ปรากฏเป็นประเด็นอภิปรายในภาพยนตร์แนวปัญหาสังคมล้วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว โดยมีปัญหาหลัก ๆ ที่ได้รับการอภิปรายอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่ ปัญหาชนชั้นแรงงาน ปัญหาโสเภณีไทย ปัญหาครอบครัวชนชั้นกลาง และปัญหาชนบทไทย คำถามการวิจัยของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมใดบ้างที่ส่งผลต่อการผลิตภาพยนตร์แนวปัญหาสังคมของในทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2530 ภาพยนตร์แนวปัญหาสังคมแสดงให้เห็นกระบวนการให้ความหมายและการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสังคมดังกล่าวอย่างไร ภาพยนตร์แนวปัญหาสังคมเหล่านี้มีบทบาทอย่างไรในการอภิปรายและถกเถียงกับวาทกรรมอื่น ๆ ที่แวดล้อมปัญหาสังคมดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอว่าภาพยนตร์แนวปัญหาสังคมในทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2530 สร้างขึ้นโดยผู้กำกับรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาด้านภาพยนตร์โดยตรงและสนใจปัญหาสังคมร่วมสมัย เช่น หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และยุทธนา มุกดาสนิท ภาพยนตร์เหล่านี้มีบทบาทมิใช่เพียงการสะท้อนปัญหาสังคมดังที่มักเสนอกันในงานวิจัยด้านนิเทศศาสตร์และวรรณคดีเปรียบเทียบ แต่เป็นวาทกรรมที่แสดงให้เห็นการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับที่มา ลักษณะและผลกระทบของปัญหาสังคมในช่วงเวลาดังกล่าว ภาพยนตร์แนวปัญหาสังคมในช่วงเวลาดังกล่าวมุ่งสร้างการรับรู้ปัญหาสังคมผ่านวาทกรรมเรื่องความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับกระแสภูมิปัญญาของปัญญาชนหัวก้าวหน้า แต่แตกต่างไปจากการรับรู้ปัญหาสังคมของภาครัฐ ในขณะที่ภาพยนตร์แนวปัญหาสังคมในช่วงกลางทศวรรษ 2520 ถึงทศวรรษ 2530 มุ่งสร้างการรับรู้และการอธิบายปัญหาสังคมในลักษณะที่สอดคล้องกับความคิดของภาครัฐ และปัญญาชนกลุ่ม  “วัฒนธรรมชุมชน” มากกว่า ทั้งนี้เนื่องมาจากการเสื่อมความนิยมของกระแสแนวคิดสังคมนิยมซ้ายใหม่ในหมู่ปัญญาชนในช่วงเวลาดังกล่าว
dc.description.abstractalternative This thesis examines the constructions of knowledge about social problems as represented in Thai feature films from the 1970s to the 1990s. It analyses twelve feature films together with the wide range of primary sources including newspapers, novels, film posters, interviews and contemporary film criticism. At the centre of the thesis stands the relationships between public debates on social questions and their constructions of knowledge in Thai feature films. The social problems that came to be the content of Thai social problem films were inextricably linked with social issues of the time. Four widely debated social questions were the working class’ sufferings, female sex workers and their destiny, the middle-class family and teenagers’ drug culture, and the change in Thai rural landscape. This thesis asks: What economic and social factors did play a key role in producing Thai social problem films in the 1970s and the 1990s? How did Thai film directors use their films to help construct knowledge of social problems in that period? To which extent did Thai social problem films discursively engage themselves with other discourses surrounding those social questions? This thesis argues that Thai social problem films in the 1970s and the 1990s were produced by new generations of Thai film directors who were professionally trained in film studies and critically interested in social questions of the time, most notably, M.C. Chatrichalerm Yukol and Yuthana Mookdasanit. Unlike other precedent research in the field of communication arts and comparative literature, Thai social problem films did not reflect or simply mirror social sufferings of the affected people. Rather, they discursively and pictorially constructed knowledge of social questions embracing their backgrounds, key characteristics and impact. The knowledge of social problems constructed in the films studied in this thesis was based on the discourse of social justice and social equality which formed parts of the radical intellectual movement in the 1970s. However, as the decades wore on, the film directors began to view social issues in the similar vein as that of the government and the “localist” intellectuals, for the New Left socialism witnessed its decline in popularity in the 1990s and ceased to be the source of intellectual inspiration for Thai film directors.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.739
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ภาพยนตร์ไทย -- ประวัติและวิจารณ์
dc.subject ปัญหาสังคมในภาพยนตร์
dc.subject Motion pictures, Thai -- History and criticism
dc.subject Social problems in motion pictures
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title ภาพยนตร์ไทยกับการสร้างการรับรู้ปัญหาสังคม ทศวรรษ 2510 ถึงทศวรรษ 2530
dc.title.alternative Thai feature films and constructions of knowledge of social problems from the 1970s to the 1990s
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ประวัติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.739


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record