dc.contributor.advisor |
ยุวดี ศิริ |
|
dc.contributor.author |
ไกรพัชร เทศประสิทธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-01T04:27:50Z |
|
dc.date.available |
2022-07-01T04:27:50Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79126 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
วิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้การท่องเที่ยวทั่วโลกหยุดชะงัก สร้างผลกระทบแก่ธุรกิจโรงแรมทั่วประเทศไทย แต่ธุรกิจด้านกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (Wellness) กลับมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยที่เริ่มให้ความสนใจด้านสุขภาพ ซึ่งจังหวัดจันทบุรีมีการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากศักยภาพของภูมิประเทศและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สอดคล้องกับแนวคิดด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มตัวอย่างที่สนใจทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและมีแนวโน้มจะเข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี เพื่อนำมาปรับใช้กับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงสุขภาพภายในโรงแรม โดยผู้วิจัยศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณจากอุปสงค์การท่องเที่ยวของกลุ่มตัวอย่าง โดยการสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) จากนักท่องเที่ยวจำนวน 313 คน โดยพิจารณาปัจจัยเรื่อง ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการท่องเที่ยว รูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่สนใจให้โรงแรมบริการ จากนั้นผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและสรุปผลร่วมกับข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงสุขภาพในโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงธุรกิจโรงแรมแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่
จากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60 – 79 ปี เป็นผู้เกษียณอายุ และ พนักงานเอกชนจำนวนใกล้เคียงกัน มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 40,000 บาท จากการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สามารถสร้างโอกาสแก่โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรีด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีพฤติกรรมท่องเที่ยวสอดคล้องกับกิจกรรมในพื้นที่ เช่น การเดินทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ การท่องเที่ยววิถีชุมชน เป็นต้น โดยกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 40,000 บาท เดินทางพร้อมกลุ่มเพื่อน จำนวน 6 – 11 คน พักค้างคืนโรงแรม 3 วัน 2 คืน มีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวต่อคนต่อทริป ประมาณ 2,001 – 4,000 บาท มาท่องเที่ยวช่วงวันธรรมดาและเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว โดยกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุสนใจให้โรงแรมช่วยบริการ ได้แก่ 1) บริการนำเที่ยวภายนอกโรงแรมโดยสนใจกิจกรรมท่องเที่ยวสำหรับโฮมสเตย์ (Homestay) มากที่สุด 2) บริการเฉพาะรถรับ-ส่งภายนอกโรงแรมโดยสนใจกิจกรรมเดินชมธรรมชาติและกิจกรรมวิถีชุมชนมากที่สุด 3) บริการภายในโรงแรมโดยสนใจกิจกรรมนวดไทยหรือนวดน้ำมันหอมระเหยมากที่สุด ซึ่งกิจกรรมรูปแบบดังกล่าวมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมทั่วไปของผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่มีการใช้กำลังกายในระดับที่ไม่หนักจนเกินไป
การเสนอแนะโอกาสในการนำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างสนใจมาปรับใช้กับโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ 1) การร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่หรือบุคลากรในชุมชนท้องถิ่นเพื่อบริการและอำนวยความสะดวกกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพภายนอกโรงแรม และ 2) การปรับปรุงหรือต่อเติมพื้นที่ภายในโรงแรมรวมถึงการปล่อยเช่าพื้นที่แก่ผู้ประกอบการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพประเภทการนวดไทยที่สนใจ หากผู้ประกอบการสามารถปรับบริการและพื้นที่โรงแรมเพื่อรองรับกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพข้างต้นก็จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายมาเข้าพักที่โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรีได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
Although the pandemic of Covid-19 has greatly impacted tourism and the hospitality industry both globally and locally, the wellness industry within has exhibited continual growth as Thai people become more health conscious. Having high potential geographically and being abundant with natural attractions correlating to the health travelers’ behavior, Chantaburi has been developing infrastructures aimed at becoming a wellness tourism destination in the near future. The research objective is to identify key behaviors of the sample group of wellness tourists and their willingness to stay at small hotels in the province of Chantaburi in order to create a business strategy that optimizes services and facilities of the hotels. The qualitative study is obtained from an online questionnaire completed by 313 travelers, considering factors such as demographics, travel behaviors, health and wellness activities of interests. The statistical results are then compared to the existing services and wellness facilities of the small hotels of Chantaburi to suggest improvements and optimization. The research demonstrated that the majority of the sampling group is female, aged 60 - 79 years old. The group is equally constructed of retirees as well as employees of private companies. The education level is higher than bachelor’s degree with an average monthly income of 20,001 - 40,000 Bath. From the analysis, the potential samples who are willing to spend a night at local small hotels are those who senior travelers who are interested in the local activities and attractions of Chantaburi, including climbling Khao Khitchakut and visiting the Local Community. These seniors are mainly female with an average monthly income of 20,000 - 40,000 Bath, traveling with 6-11 friends. The length of stay is 2 nights. The traveling budget per person is 2,001 - 4,000 Bath. The trip is during weekdays and the mode of transportation is via personal car. The wellness activities and services desired by this group include: 1) a tour guide, particularly for homestay attractions; 2) A shuttle service, particularly for the natural and local community attractions; and 3) In-hotel services, particularly the Thai and aroma therapy massages. These preferred activities and services aligned with daily behaviors of seniors in general that do not require much physical stamina. Finally, the suggestion for small hotels in developing the wellness services and activities are; 1) creating partnership models with local businesses or communities; and 2) refurbishing or redeveloping hotel usable areas, including leasing potential areas to local wellness operators, such as Thai massages. These methods to improve wellness activities and services would attract the target group in choosing small hotels in the province of Chantaburi. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.584 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
โรงแรม -- ไทย -- จันทบุรี |
|
dc.subject |
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ |
|
dc.subject |
Hotels -- Thailand -- Chantaburi |
|
dc.subject |
Medical tourism |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
พฤติกรรมต่อการเข้าพักโรงแรมที่มีการนำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพมาปรับใช้ กรณีศึกษา นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี |
|
dc.title.alternative |
Behavioral study of wellness tourism and optimization of hotels: a case study of tourist insterested in staying at small hotels in Chantaburi province |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.584 |
|