Abstract:
ทำการศึกษาจากกลุ่มประชากรแมว จำนวน 80 ตัว ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการสำรวจอัตราการติดเชื้อของเชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ (Bartonella hensale) โดยใช้เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสหรือพีซีอาร์ (PCR) ซึ่งเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการตรวจ (Detect) และบ่งชี้ (Identify) เชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ในเลือดแมวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าระบาดวิทยาของเชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ ในโรงพยาบาลสัตว์เล็ก พบ 35% ของแมวมีการติดเชื้อบาร์โทเนลล่าแต่จากการศึกษาพบว่า จำนวนของแมวที่มีการติดเชื้อบาร์โทเนลล่ากับการตรวจพบปรสิตภายนอก (หมัด) มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญกับจำนวนแมวที่มีการติดเชื้อ (P=0.001) เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างจำนวนของแมวที่มีการติดเชื้อกับผลทางสถิติของ Odd Ratio พบว่า แมวเพศเมียมีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มากกว่าแมวเพศผู้ ช่วงอายุที่มีโอกาสติดเชื้อได้มากที่สุดคือแมวที่มีอายุ 2-4 ปี สำหรับปัจจัยอื่น ๆ เช่น แมวที่เลี้ยงดูภายในบ้านจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแมวที่เลี้ยงภายนอกบ้าน แมวที่มีสุขภาพโดยรวมแย่จะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแมวที่มีสุขภาพโดยรวมดีซึ่งบ่งชี้จากผล Odd Ratio ร่วมกับผลการตรวจชุดทดสอบ Snap พบว่าแมวที่มีการติดเชื้อ FIv และ FeLV 66% (2/3) มีผล Positive ต่อเชื้อบาร์โทเนลล่าและแมวที่มีหมัดตามร่างกายจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแมวที่ไม่มีหมัดตามร่างกาย ซึ่งความสัมพันธ์ของหมัดแมวกับการติดเชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ โดยมีหมัดแมวเป็นพาหะที่สำคัญในการนำเชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ร่วมกับกลุ่มประชากรแมวที่มีปัญหาสุขภาพหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องมีแนวโน้มที่จะมีความไวต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น