DSpace Repository

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาบทบาทของระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อการติดเชื้อบาร์โทเนลล่าในแมวป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

Show simple item record

dc.contributor.author รสมา ภู่สุนทรธรรม
dc.contributor.author พินิจ ภู่สุนทรธรรม
dc.contributor.author เดชฤทธิ์ นิลอุบล
dc.contributor.author ชาญณรงค์ รอดคำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-14T10:18:34Z
dc.date.available 2022-07-14T10:18:34Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79258
dc.description.abstract ทำการศึกษาจากกลุ่มประชากรแมว จำนวน 80 ตัว ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการสำรวจอัตราการติดเชื้อของเชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ (Bartonella hensale) โดยใช้เทคนิคปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสหรือพีซีอาร์ (PCR) ซึ่งเทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการตรวจ (Detect) และบ่งชี้ (Identify) เชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ในเลือดแมวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าระบาดวิทยาของเชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ ในโรงพยาบาลสัตว์เล็ก พบ 35% ของแมวมีการติดเชื้อบาร์โทเนลล่าแต่จากการศึกษาพบว่า จำนวนของแมวที่มีการติดเชื้อบาร์โทเนลล่ากับการตรวจพบปรสิตภายนอก (หมัด) มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญกับจำนวนแมวที่มีการติดเชื้อ (P=0.001) เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างจำนวนของแมวที่มีการติดเชื้อกับผลทางสถิติของ Odd Ratio พบว่า แมวเพศเมียมีโอกาสที่จะติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มากกว่าแมวเพศผู้ ช่วงอายุที่มีโอกาสติดเชื้อได้มากที่สุดคือแมวที่มีอายุ 2-4 ปี สำหรับปัจจัยอื่น ๆ เช่น แมวที่เลี้ยงดูภายในบ้านจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแมวที่เลี้ยงภายนอกบ้าน แมวที่มีสุขภาพโดยรวมแย่จะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแมวที่มีสุขภาพโดยรวมดีซึ่งบ่งชี้จากผล Odd Ratio ร่วมกับผลการตรวจชุดทดสอบ Snap พบว่าแมวที่มีการติดเชื้อ FIv และ FeLV 66% (2/3) มีผล Positive ต่อเชื้อบาร์โทเนลล่าและแมวที่มีหมัดตามร่างกายจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าแมวที่ไม่มีหมัดตามร่างกาย ซึ่งความสัมพันธ์ของหมัดแมวกับการติดเชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ โดยมีหมัดแมวเป็นพาหะที่สำคัญในการนำเชื้อบาร์โทเนลล่า เฮนเซเล่ร่วมกับกลุ่มประชากรแมวที่มีปัญหาสุขภาพหรือภูมิคุ้มกันบกพร่องมีแนวโน้มที่จะมีความไวต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative The study was performed to find Bartonella spp infection in cats. Eighty cats presented to the Small Animal Hospital, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University were studied. The prevalence of feline Bartonella spp. infection in the hospital was 35.0%. Bartonella henselae was identified in cats by using PCR. PCR technique can be used to detect B. henselae. The age of the cats ranged from 2-4 years old. Female cats were more infected with B. henselae. Cats with flea were found positive for B. henselae infection. Feline immunodeficiency-infected (FIV) cats and Feline leukemia virus –infected (FeLV) cats were also studied. FIV and FeLV cats in this study showed B. henselae infection. One explanation for this may be because FeLV cats had clinical signs with lower immunity than the normal cats. Cat owners with low immunity such as HIV patients, patients receive chemotherapy or elderly persons with many cats in the same house should routinely measure the cat immunity and screen their cats for Bartonellosis. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2560 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แมว -- การติดเชื้อ en_US
dc.subject การติดเชื้อบาร์โทเนลลาในสัตว์ en_US
dc.title รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาบทบาทของระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อการติดเชื้อบาร์โทเนลล่าในแมวป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง en_US
dc.title.alternative การศึกษาบทบาทของระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อการติดเชื้อบาร์โทเนลล่าในแมวป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง en_US
dc.title.alternative Role of immunity in cats with feline immunodeficiency virus and Bartonella spp. coinfection en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record