dc.contributor.advisor | นราพงษ์ จรัสศรี | |
dc.contributor.author | จินตนา อนุวัฒน์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T03:53:07Z | |
dc.date.available | 2022-07-23T03:53:07Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79370 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและหาแนวคิดที่ได้จากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงคุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติที่ใช้พิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ที่มีการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องานวิจัย สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนาวิชาการ การสัมภาษณ์ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการ วิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ดำเนินการตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ที่มีองค์ประกอบ 8 ประการ คือ 1) บทการแสดง นำโครงสร้างมาจากคุณสมบัติของกรรมการด้านจริยธรรม 6 ประการ ได้แก่ ทัศนคติและเจตนาที่บริสุทธิ์ ภาวะผู้นำ อำนาจและอิสระในการตัดสินใจ ความเสมอภาค ความซื่อสัตย์สุจริต และความยุติธรรม โดยแบ่งบทการแสดงออกเป็น 7 องก์ ได้แก่ องก์ 1 โต้แย้ง องก์ 2 ผู้นำและผู้ตาม องก์ 3 ความกดดันจากอำนาจ องก์ 4 ปิดหูปิดตาด้วยอคติ องก์ 5 ทุจริตใต้โต๊ะ องก์ 6 อยุติธรรม และองก์ 7 หายนะจากการกระทำผิดคำสาบาน 2) ลีลานาฏยศิลป์ ผสมผสานนาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์ตะวันตก นาฏยศิลป์พื้นเมือง การเล่นเงา ละครใบ้ และลีลาการเคลื่อนไหวแบบเรียบง่าย การเคลื่อนไหวแบบในชีวิตประจำวัน ตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 3) นักแสดง คัดเลือกจากผู้ที่มีประสบการณ์ด้านนาฏยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ตะวันตก 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ เก้าอี้สำนักงาน โต๊ะ ผ้าสีดำ แท่นรับรางวัลกีฬา และคานหาบ 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง เป็นการบรรเลงแบบด้นสดที่ผสมผสานเครื่องดนตรีพื้นเมืองจากวัฒนธรรมไทย จีน ทิเบต ละตินและแอฟริกาเข้าด้วยกัน 6) เครื่องแต่งกาย ใช้ชุดสูทแบบสากลนิยม และการออกแบบเสื้อผ้าที่มีโครงสร้างแบบไม่สมมาตร สีขาว-ดำ และชุดโนราแบบประยุกต์ 7) พื้นที่แสดง เป็นโรงละครแบล็คบอกซ์ และ 8) การใช้แสงสังเคราะห์เพื่อส่งเสริมอารมณ์และบรรยากาศในการแสดง นอกจากนี้ ยังค้นพบแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยศิลป์ที่มีข้อควรคำนึง 7 ประการ ได้แก่ 1) คุณสมบัติของกรรมการพิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์ 2) การสะท้อนสภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ 3) การสื่อสารกับผู้ชม 4) ความคิดสร้างสรรค์ในผลงานนาฏยศิลป์ 5) ความหลากหลายของรูปแบบการแสดง 6) การใช้สัญลักษณ์ในผลงานนาฏยศิลป์ และ 7) ทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งผลการวิจัยมีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ งานวิจัยฉบับนี้จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ เชื่อมโยงประสบการณ์และพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการด้านนาฏยศิลป์ และเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานด้านนาฏยศิลป์ต่อไปในอนาคต | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are to study the patterns and the potential concepts from the creative dramatic arts that reflect the qualification of an ideal committee in Thai dancing evaluation process by using qualitative research and creative research methods, that studied information from documents relating to research topics, information medias, observations, academic seminars, interviews standardization criteria of artists and the researcher's personal experiences to be guideline for analyzing, synthesizing and creating the dances. The results showed that the patterns of creative dances consist of 8 components and were as follows; 1) performance script derived from the committee characteristics of ethical 6 points, consist of attitude and honest intention, leadership, self-determination, equality, integrity and fairness and then the script was divided into 7 episodes; Episode 1: Arguments, Episode 2 : Leader and Supporter, Episode 3: Pressured by power, Episode 4: Prejudice, Episode 5: Corruption, Episode 6: Injustice, and Episode 7: Consequences from breaking the oath, 2) the choreography was associated with the traditional Thai dance, western dance, shadow play, pantomime, the simplicity movement and everyday movement according to post-modern dance methods, 3) the actor audition were chosen specifically on both Thai dance and western dance experienced performers, 4) dancing props were chosen from the daily life basis products such as office chairs, office desks, black flannels, sport podiums and yokes, 5) the music and sound of performance was orchestrated by the traditional music instruments and were combined with the improvised percussions from Thai, China, Tibet, Latin and Africa, 6) costume design with universal suit and the asymmetrical clothes, black and white designs as well as an applied Nora costume, 7) performance area was Black Box Theater, and 8) Lighting design to convey moods and atmospheres. Besides, this research indicates concepts after the creation of a dance that were various cautions and divide into 7 points; 1) the committee qualification for dancing evaluation, 2) the reflection of the society through the dance, 3) communications with the audience, 4) creative thinking of creative dances, 5) variety of performance styles, 6) symbolic usage of creative dances, and 7) the theories of fine arts which conformed to objectives of this research. In addition, this research was thoroughly gathered various knowledge blended with the experience of the author to develop the creative performance and then would benefit the dancing circles and established a reference for the future of creative dances. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1017 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | นาฏยประดิษฐ์ | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | |
dc.title | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงคุณสมบัติของกรรมการในอุดมคติที่ใช้พิจารณาผลงานด้านนาฏยศิลป์ | |
dc.title.alternative | The creation of a dance reflecting to the qualifications of an ideal committee for evaluation of dances | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.1017 |