DSpace Repository

อิทธิพลของระดับความอิ่มตัวของทรานส์เฟอร์รินต่อดัชนีการดื้อยาอีริโทรโพอิตินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมฤทัย วัชราวิวัฒน์
dc.contributor.author อิ่มจิต บุญอำนวย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T03:57:11Z
dc.date.available 2022-07-23T03:57:11Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79416
dc.description วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความอิ่มตัวทรานส์เฟอร์ริน (TSAT) กับดัชนีการดื้อยาอีริโทรโพอิติน (ERI) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 วิธีการวิจัย: ในการศึกษาเชิงวิเคราะห์จากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลังนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 ที่ได้รับยาอีริโทรโพอิตินและมีการตรวจวัด TSAT ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในช่วง ม.ค. 2560 ถึง ธ.ค. 2562 ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยค่ามัธยฐานของระดับ TSAT (median TSAT) เพื่อเปรียบเทียบค่า ERI ที่คำนวณมาจากขนาดยาอีริโทรโพอิตินที่ใช้ต่อน้ำหนักตัวต่อสัปดาห์ (IU/kg/week) หารด้วยระดับฮีโมโกลบิน (g/dl) ระหว่างผู้ป่วย 2 กลุ่ม ผลการวิจัย: ผู้ป่วย 502 คนที่เข้าร่วมในการศึกษา มีค่ามัธยฐานของ TSAT เท่ากับร้อยละ 26.0 [IQR: ร้อยละ 17.9, ร้อยละ 36.0] และมัธยฐานของ ERI เท่ากับ 16.42 [IQR: 11.26, 21.25] IU/kg/week per g/dl มีผู้ป่วยในกลุ่มที่มี TSAT สูงกว่าค่ามัธยฐาน (>median TSAT) 246 คน และกลุ่ม TSAT ต่ำกว่าหรือเท่ากับค่ามัธยฐาน (≤median TSAT) 256 คน พบว่า ค่า ERI ในผู้ป่วยกลุ่ม >median TSAT ต่ำกว่ากลุ่ม ≤median TSAT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (15.04 [IQR: 9.74, 20.25] เทียบกับ 17.06 [IQR: 12.12, 22.50] IU/kg/week per g/dl ตามลำดับ, P= 0.003)  สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาอีริโทรโพอิติน และมีระดับของ TSAT สูงกว่าร้อยละ 26.0 มี ERI ที่ต่ำกว่าผู้ป่วยที่มีระดับ TSAT ต่ำกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 26.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า การมีระดับ TSAT ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อยาอีริโทรโพอิตินที่ดีกว่า
dc.description.abstractalternative Objective: To study the relationship between transferrin saturation (TSAT) level and erythropoietin resistance index (ERI) in patients with chronic kidney disease stages 4-5 (CKD 4-5). Methods: In this analytical retrospective cohort study, patients with CKD 4-5 who had been receiving erythropoietin and had their TSAT measured at Buriram hospital during Jan 2017 to Dec 2019 were divided into 2 groups based on the median TSAT. The ERI was determined as the weekly weight-adjusted dose of erythropoietin (IU/kg/week) divided by hemoglobin concentration (g/dl) were compared between the patients groups. Results: Five hundred and two patients were included. The median TSAT was 26.0% [IQR: 17.9%, 36.0%]. The median ERI was 16.42 [IQR: 11.26, 21.25] IU/kg/week per g/dl. There were 246 patients in the higher than median TSAT group and 256 patients in the less than or equal median TSAT group. The ERI of patients in the higher than median TSAT group was significantly lower than those in the less than or equal median TSAT group (15.04 [IQR: 9.74, 20.25] vs 17.06 [IQR: 12.12, 22.50] IU/kg/week per g/dl respectively, P= 0.003). Conclusion: Patients with CKD stages 4-5 who received erythropoietin and had the TSAT level higher than 26.0% had significantly lower ERI compared to those who had TSAT less than or equal to 26.0%, suggesting that higher TSAT is associated with better erythropoietin response.  
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.530
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การดื้อยา
dc.subject ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
dc.subject อีริย์โธรโปอิเอติน
dc.subject Drug resistance
dc.subject Chronic renal failure -- Patients
dc.subject Erythropoietin
dc.title อิทธิพลของระดับความอิ่มตัวของทรานส์เฟอร์รินต่อดัชนีการดื้อยาอีริโทรโพอิตินในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5
dc.title.alternative Influence of transferrin saturation level to erythropoietin resistance index in patients with chronic kidney disease stages 4-5
dc.type Thesis
dc.degree.name เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เภสัชกรรมคลินิก
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.530


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Theses [1269]
    วิทยานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record