DSpace Repository

วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. …. ฉบับเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor มานิตย์ จุมปา
dc.contributor.author กมลพร จอม จรดล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T03:59:08Z
dc.date.available 2022-07-23T03:59:08Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79432
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract เนื่องจากการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่นำไปสู่ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันอันเป็นปัญหาที่สำคัญไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นปัญหาที่สังคมระดับโลกต่างให้ความสนใจ ตระหนักถึงและมุ่งแก้ไขปัญหานี้มาอย่างยาวนาน ผู้เขียนจึงเลือกศึกษาวิจัยในกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม โดยมุ่งศึกษาวิเคราะห์ในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. .... ฉบับเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันเป็นกฎหมายเฉพาะในเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งพบว่าแม้ว่าในประเทศไทยจะมีกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมอย่างมากมาย แต่เป็นการบัญญัติที่กระจัดกระจายในกฎหมายอื่นๆ และยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมที่ชัดเจน ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. …. ฉบับเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นฉบับที่ผู้เขียนมุ่งศึกษาวิจัยเป็นฉบับที่ถูกเสนอใน พ.ศ. 2560 โดยคณะรัฐมนตรีและในปัจจุบันถูกพิจารณาให้ตกไป เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดลง แม้ว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการแก้ไขปรับปรุงจากฉบับที่ถูกเสนอใน พ.ศ. 2550 แต่พบว่ายังคงมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาการบัญญัติคำนิยามที่ไม่ชัดเจนของคู่สมรส บุตร ญาติและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัญหาการไม่นำหลักการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะมาใช้ ปัญหาการจำกัดโอกาสในการประกอบวิชาชีพ ปัญหาการบัญญัติลักษณะและข้อห้ามของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม ปัญหาการกำหนดบทลงโทษ ปัญหาหน่วยงานที่เข้ามาควบคุมและปัญหาอื่นๆ ผู้เขียนจึงได้นำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมทั้งในและต่างประเทศ อันได้แก่ ประเทศแคนาดา ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และสาธารณรัฐสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่มีค่าดัชนีชี้วัดความโปร่งอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกมาใช้ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นแนวทางเสนอแนะหากร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมถูกนำกลับมาเสนออีกในภายภาคหน้า และเพื่อเป็นการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์    ส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวมต่อไป
dc.description.abstractalternative Since the conflict between personal interest and public interest is a significant factor leading to the corruption problems, not only affecting Thailand but many other country, these corruption problems have been globally and locally addressed, and tremendous efforts have been put to address these issues. In this regard, the Author decided to focus on analytical investigations when studying laws relevant to Conflict of Interest. A specific law on Conflicts of Interests is Thailand’s Draft Conflict of Interest Act B.E. .... proposed to National Legislative Assembly. Although Thailand has a legislation addressing Conflicts of Interest, it was discovered that numerous personal and public interests are covered by provisions scattered across other laws and that there is no sufficiently clear regulation on the subject. Thailand’s Draft Conflict of Interest Act B.E. …. Proposed to the National Legislative Assembly, which is the version that the Author is focusing on, was put out by the Cabinet in 2017. Due to the end of the term of NLA, this Draft Act is currently being reviewed for dismissal. Despite changes made to the 2007 draft Act, it was identified that there would still be issues in defining spouses, children, relatives, and government officials, not applying the principles of open information, limiting career opportunities, formulating characteristics and prohibiting of Conflict of Interest, mandating penalties, as well as regulators and other issues. In order to analyze these problems and seek potential solutions appropriate to Thailand’s context, the Author has applied ranges of principles, concepts, and legal theories related to Conflicts of Interest and further compare to legal landscape of this type of laws in other countries, namely Canada, Denmark, and Singapore -- known to be the world’s highest transparency index. If the Draft Act on Conflicts of Interest is ever proposed, it can also be used as recommendations to further expand the legislation governing Conflicts of Interest.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.685
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การขัดกันแห่งผลประโยชน์
dc.subject การขัดกันแห่งผลประโยชน์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject Conflict of interests
dc.subject Conflict of interests -- Law and legislation
dc.title วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. …. ฉบับเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
dc.title.alternative The analysis on Thailand' s draft conflict of interest act B.E.. …. proposed to national legislative assembly
dc.type Thesis
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิติศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.685


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record