dc.contributor.advisor |
คณพล จันทน์หอม |
|
dc.contributor.author |
วิรัชกฤตย์ พุฒิคณาภรณ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T03:59:22Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T03:59:22Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79454 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการในการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานโดยให้หลักประกันการไม่ฟ้องคดีในคดีทั่วไป ซึ่งผู้วิจัยมุ่งศึกษา ความเป็นมาของมาตรการในการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน แนวความคิดของการสั่งคดี มาตรการในการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานในต่างประเทศ การให้หลักประกันอย่างอื่น เช่น การลดโทษ และการไม่ให้ผู้ต้องหาถูกฟ้องร้องโดยอาศัยคำให้การรับสารภาพของตน เพื่อกำหนดรูปแบบและกระบวนการในการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานที่เหมาะสมกับประเทศไทย สืบเนื่องจากมาตรการในการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานในคดีทั่วไปในประเทศไทย อาศัยหลักเกณฑ์ตามระเบียบภายในของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะ ส่งผลให้หลักเกณฑ์ในระเบียบดังกล่าวมีแนวปฏิบัติที่ไม่ชัดเจนและไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งการให้หลักประกันไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่ถูกกันไว้เป็นพยานซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดไม่สอดคล้องกับหลักความรับผิดในทางอาญา ประกอบกับการสั่งไม่ฟ้องกรณีกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานควรให้เป็นอำนาจของพนักงานอัยการหรืออัยการสูงสุด ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะให้บัญญัติมาตรการในการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยยังคงไว้ซึ่งการให้หลักประกันไม่ฟ้องคดี ด้วยเหตุเพราะประโยชน์จากการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานเพื่อซัดทอดตัวการสำคัญมีมากกว่าการลงโทษผู้ต้องหารายนั้น และไม่นำการให้หลักประกันอย่างอื่นมาปรับใช้ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับการดำเนินคดีอาญาของประเทศไทย ส่วนผู้สั่งไม่ฟ้องยังควรให้เป็นอำนาจของพนักงานอัยการ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้มาตรการจึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์ทั้งประเภทคดีและปัจจัยที่ต้องพิจารณาให้มีความเหมาะสมและน่าเชื่อถือ รวมทั้งปรับปรุงระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับบทบัญญัติที่เสนอแนะ เพื่อให้มาตรการในการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยานมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสังคม |
|
dc.description.abstractalternative |
This thesis proposes to study the legal measure in taking the suspect as a witness by the arrangement of collaterals for non-prosecution in general cases, in which the researcher emphasizes on the study of the background of the legal measure in taking the suspect as a witness, the concept in taking the suspect as a witness, the foreign legal measure in taking the suspect as a witness, and the arrangement of other collaterals such as penalty reduction and use immunity in order to determine the suitable model and method for the legal measure in taking the suspect as a witness for Thailand. As the legal measure in taking the suspect as a witness in general cases in Thailand relies on the internal regulation guidelines of the inquiry officials and prosecutors without specific provisions, the regulations in such guidelines therefore have ambiguous and inconsistent practices. Furthermore, the arrangement of the collateral for the non-prosecution of the suspect taken as a witness who are the offenders is inconsistent with the principle of liability, and non-prosecution order of the suspect taken as a witness shall be under the authority of the prosecutors or the attorney general. Thereby, this thesis suggests enacting the legal measure in taking the suspect as a witness in the Criminal Procedure Code by maintaining collateral for non-prosecution, as the benefit for taking a suspect as a witness to testify against other prime suspect is greater than the punishment of such suspect. In addition, other collaterals are not implemented due to the inconsistency with Criminal Procedure in Thailand, but the person who takes non-prosecution order shall be under the authority of the prosecutors. However, in order to maintain confidence in using the measure, the establishment of the criteria for both the types of cases and factors which must be appropriately taken for consideration, and the improvement of the relevant internal regulations to accord with the suggested provisions, with the aim that the legal measure in taking the suspect as a witness is highly efficient and able to derive maximum benefits for the society as a whole. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.710 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ผู้ต้องหา |
|
dc.subject |
พยานหลักฐานคดีอาญา |
|
dc.subject |
การสืบสวนคดีอาญา |
|
dc.subject |
วิธีพิจารณาความอาญา |
|
dc.subject |
Evidence, Criminal |
|
dc.subject |
Criminal investigation |
|
dc.subject |
Criminal procedure |
|
dc.title |
มาตรการในการกันผู้ต้องหาไว้เป็นพยาน |
|
dc.title.alternative |
Legal measures in taking a suspect as a witness |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.710 |
|