DSpace Repository

ระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของการได้รับพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลระหว่างปีพ.ศ. 2554-2563

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
dc.contributor.author ขจรยุทธ บางท่าไม้
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:15:19Z
dc.date.available 2022-07-23T04:15:19Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79528
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การได้รับพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลจนถึงขั้นเสียชีวิตยังคงพบอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ที่ผ่านมามีการเก็บรวบรวมข้อมูลแต่ยังไม่ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร การวิจัยนี้เพื่อศึกษาถึงการได้รับพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2554-2563  โดยวิเคราะห์เชิงระบาดวิทยาตาม บุคคล เวลา สถานที่ และข้อมูลผู้ได้รับพิษจากการรับประทานแมงดาทะเล โดยรวบรวมข้อมูลที่มีการรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 ผลการวิจัยพบผู้ได้รับพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลรวม 226 ราย พบมากที่สุดในช่วงอายุ 31 - 40 ปี (ร้อยละ 24.8) พบได้บ่อยในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน โดยพบมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ (ร้อยละ 22.1) ส่วนใหญ่พบที่ภาคตะวันออก โดยพบมากที่สุดในจังหวัดตราด (ร้อยละ 44.6) ผู้ที่ได้รับพิษจากการรับประทาน พบเป็นสาเหตุจากแมงดาทะเลชนิดหางกลมจำนวน 44 ราย (ร้อยละ 19.5) การรายงานเป็นรูปแบบเดียวกันและมีข้อมูลที่ชัดเจน เช่น ชนิดของแมงดาทะเล แหล่งที่มาของแมงดาทะเล ระยะเวลาตั้งแต่รับประทานจนถึงมีอาการ อาหารหรือเครื่องดื่มที่รับประทานร่วม จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุ หน่วยงานภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักรู้ในการรับประทานแมงดาทะเลแต่ละชนิด ควรกำหนดมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน และกำหนดแนวทางการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุการเกิดพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลต่อไป
dc.description.abstractalternative Fatality from ingestion of horseshoe crabs continues to occur in Thailand. Data had been collected, but has not been analyzed usefully. The purpose of this study is to epidemiologically analyze poisoned cases of horseshoe crab ingestion in Thailand reported during 2011 – 2020, by time, place, person and their data. The data were collected from related agencies that reported these cases between January 1st 2011 and December 31th 2020. A total of 226 cases of horseshoe crab poisoning were found in this study. The most common age range was 31-40 years (24.8%). The most frequent occurrences were between January to April, with the highest reports in February. Most of them are found in the eastern region of Thailand, the highest reports were in Trat province (44.6%). From all report in this study, there were 44 cases caused by round-tailed horseshoe crab (Carcinoscorpius rotundicauda) poisoning (19.5%). Creating unified and clarified variable in report form such as types and origin of horseshoe crabs, symptoms, eating time, onset time, as well as food and beverage involve in particular meal, will help determine the cause. Government agencies should publicize the awareness of ingesting each type of horseshoe crab, establish measures for surveillance, and set up a guideline for investigation to determine the cause of poisoning from horseshoe crab ingestion.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.547
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject แมงดาทะเล -- พิษ
dc.subject พิษสัตว์ -- พิษวิทยา
dc.subject Horseshoe crab -- Venom
dc.subject Venom -- Toxicology
dc.title ระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของการได้รับพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลระหว่างปีพ.ศ. 2554-2563
dc.title.alternative Descriptive epidemiology of poisoning from horseshoe crab ingestion from 2011-2020
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.547


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record