Abstract:
ที่มา: ประชากรอ้วนที่สงสัยกลุ่มอาการคูชชิ่งมีโอกาสเกิดผลบวกลวงได้มากถึงร้อยละ 15 เมื่อทดสอบการกดฮอร์โมนคอร์ติซอลด้วยยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัม
วัตถุประสงค์ในการศึกษา: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับยาเดกซาเมทาโซนหลังรับประทานยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัมในประชากรที่ไม่มีโรคประจำตัวโดยเปรียบเทียบประชากรอ้วนกับประชากรน้ำหนักตัวปกติ
วิธีการศึกษา: วัดระดับยาเดกซาเมทาโซนและฮอร์โมนคอร์ติซอลหลัง 1 มิลลิกรัมหลังทดสอบการกดฮอร์โมนคอร์ติซอลด้วยยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัม และศึกษาความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ
ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบประชากรอ้วน 62 คนกับประชากรที่ไม่อ้วน 30 คน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันของระดับยาเดกซาเมทาโซน (P-value 0.09) และไม่มีความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกาย พื้นที่ผิวกาย เพศกับระดับยาเดกซาเมทาโซนในเลือด รวมทั้งไม่พบความแตกต่างของสัดส่วนประชากรที่มีระดับยาเดกซาเมทาโซนมากกว่า 3.3 นาโนโมล/ลิตร ในแต่ละกลุ่มประชากรที่จำแนกตามดัชนีมวลกาย
สรุปผล: ดัชนีมวลกายที่แตกต่างกันไม่ได้ส่งผลต่อเมแทบอลิซึมของยาเดกซาเมทาโซนในประชากรอ้วน ดังนั้นการวัดระดับยาเดกซามาทาโซนคู่กับการวัดคอร์ติซอลในเลือดหลังรับประทานยาเดกซาเมทาโซน 1 มิลลิกรัม อาจไม่ช่วยลดภาวะผลบวกลวงในประชากรที่อ้วน