dc.contributor.advisor |
สุดารัตน์ สถิตธรรมนิตย์ |
|
dc.contributor.advisor |
สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง |
|
dc.contributor.author |
มนต์ประวีณ อัมพรายน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T04:15:47Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T04:15:47Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79562 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
ความเป็นมา: ในปัจจุบันพบว่าการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรมีการนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆที่เกี่ยวกับความผิดปกติของจังหวะไฟฟ้าหัวใจอันมีคุณประโยชน์เป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีรายงานอุบัติการณ์การเกิดภาวะการรั่วของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่เพิ่มขึ้นตามมาได้หลังได้รับการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรโดยอาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่างๆตามมา ได้แก่ การมีภาวะหัวใจล้มเหลว, การทำงานของหัวใจฝั่งซ้ายและขวาที่ลดลงจากประชากรทั่วไป และภาวะหัวใจหยุดเต้น
วัตถุประสงค์การวิจัย:วัตถุประสงค์หลัก:เพื่อหาความชุกของการเกิดการรั่วของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ระดับเมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร
วัตถุประสงค์รอง: (1).เพื่อหาความชุกของการเกิดผลลัพธ์รวมของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว, การนอนโรงพยาบาลจากหัวใจล้มเหลว และอัตราการตายหลังจากการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรที่ 6 เดือน (2).เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายหลังจากการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรที่ 6 เดือน (3).เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของการบีบตัวของหัวใจห้องล่างขวาหลังจากการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรที่ 6 เดือน
วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นรูปแบบการศึกษาแบบไปข้างหน้า และย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรครั้งแรกที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 โดยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร (CIEDs) ประกอบไปด้วย PPM (Permanent pacemaker), AICD (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator), CRT-P หรือ CRT-D (Cardiac Resynchronization Therapy Pacemaker/ Defibrillator) โดยมีการทบทวนการตรวจอัลตร้าซาวน์หัวใจของผู้ป่วยทุกราย ศึกษาลักษณะของผู้ป่วย, อัลตร้าซาวน์หัวใจโดยมุ่งเน้นเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการรั่วของลิ้นหัวใจไตรคัสปิด, ข้อมูลการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรเกี่ยวกับชนิด, รุ่น, ข้อบ่งชี้ในการใส่ รวมไปถึงตำแหน่งที่ได้รับการฝังเครื่อง
ผลการวิจัย: จากการรวบรวมพบว่ามีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาแบบย้อนกลับทั้งหมด 587 ครั้งของการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2564 พบว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวรที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 180 ราย มีอายุเฉลี่ย 70.71±14.6 ปี โดยร้อยละ 60 เป็นเพศชาย จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการฝังอุปกรณ์CIEDs แยกตามชนิด ดังนี้ PPM = 94 ราย, AICD = 53 ราย และ CRT = 33 ราย พบว่าผู้ป่วย 39 ราย (ร้อยละ 21.7) พบการเกิดการรั่วของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ระดับที่ 6 เดือน ซึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มที่ได้รับการฝัง AICD อย่างมีนัยสำคัญ (OR 1.26, p = 0.005) ในกลุ่มที่พบการรั่วของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่เพิ่มขึ้นนี้ไม่สัมพันธ์กับการเกิดผลลัพธ์รวมของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว, การนอนโรงพยาบาลจากหัวใจล้มเหลว และอัตราการตายที่ 6 เดือนหลังได้รับการฝังเครื่อง (p = 0.587) แต่พบว่าสัมพันธ์กับการบีบตัวที่ลดลงของหัวใจห้องล่างซ้ายอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.002) ซึ่งตรงกันข้ามกับการบีบตัวของหัวใจห้องล่างขวาที่ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p = 0.475)
สรุปผลการวิจัย: จากการศึกษาพบว่า เกิดอุบัติการณ์ของการเกิดการรั่วของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 ระดับในกลุ่มที่ได้รับการฝังเครื่อง AICDอย่างมีนัยสำคัญ และสัมพันธ์กับการบีบตัวที่ลดลงของหัวใจห้องล่างซ้าย อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องความสำคัญในแง่ผลลัพธ์รวมทางคลินิก และการบีบตัวของหัวใจห้องล่างขวาจากการศึกษานี้ |
|
dc.description.abstractalternative |
Background: CIEDs have been widely implanted in variety of cardiac arrhythmia and benefits outweighed risks of implantation. Tricuspid regurgitation (TR) is one of the common complication which can cause heart failure (HF), reduced LV and RV function and cardiac arrest.
Purpose: We study about the incidence of worsening TR at least 1 grade after CIEDs implantation and correlation with composite end points of HF, HF hospitalization and mortality, LV and RV systolic function.
Methods: A combined prospective and retrospective single center study of patients undergoing CIEDs insertion was conducted at KCMH between 2017-2021. CIEDs included PPM (Permanent pacemaker), AICD (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator), CRT-P or CRT-D (Cardiac Resynchronization Therapy Pacemaker/ Defibrillator). All studies of transthoracic echocardiogram were reviewed. Baseline characteristics, echo data focusing on worsening TR, model of CIEDs, indication, left or right-sided implantation were recorded.
Results: There were 587 CIEDs insertions since 2017-2021 at KCMH were screened. One hundred eighty patients met inclusion criteria. The mean age of 70.71±14.6 years. Sixty percent were males. CIEDs consist of PPM = 94, AICD = 53, and CRT = 33. Thirty nine patients (21.7%) had worsening TR at least 1 grade which occurred in AICD group significantly (OR 1.26, p = 0.005). Insignificant event of composite end points of HF, HF hospitalization and mortality happened in worsening TR group (p = 0.587). In worsening TR group, LV ejection fraction was significantly decreased (p = 0.002) in contrast with RV function using TAPSE was insignificantly decreased (p = 0.475).
Conclusion: This study could show the significance of worsening TR after CIEDs implantation which occurred in AICD group significantly and correlated with decreasing in LV systolic function. There were no clinical significance between worsening TR with composite end points and RV systolic function. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1152 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ลิ้นหัวใจไทรคัสพิด |
|
dc.subject |
การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า |
|
dc.subject |
Tricuspid valve |
|
dc.subject |
Electric stimulation |
|
dc.title |
อุบัติการณ์และลักษณะการรั่วของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดที่เพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร |
|
dc.title.alternative |
Incidence and characteristics of worsening tricuspid regurgitation following cardiovascular implantable electronic devices (CIEDs) implantation |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.1152 |
|