DSpace Repository

การเปรียบเทียบการรับความรู้สึกของไส้ตรงระหว่างผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายร่วมกับมีและไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำเมื่อปวดถ่ายอุจจาระโดยใช้เครื่องบาโรแสตท

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฐนิสา พัชรตระกูล
dc.contributor.advisor สุเทพ กลชาญวิทย์
dc.contributor.author สลิล สมุทรรังสี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:15:52Z
dc.date.available 2022-07-23T04:15:52Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79567
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ความสำคัญและที่มา: ภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำเมื่อปวดถ่ายอุจจาระสามารถพบได้ในประชากรทั่วไปแต่จะมีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีการขับถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติไม่ว่าจะเป็นภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้ หรือ ภาวะท้องผูก แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาที่ครอบคลุมกลไกในการเกิดภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำเมื่อปวดถ่ายอุจจาระ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับการรับความรู้สึกของไส้ตรงในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายร่วมกับมีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำโดยใช้เครื่องบาโรสแตท ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้มีการเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐาน คือ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย ซึ่งไม่แตกต่างระหว่างอาสาสมัครที่ไม่มีความผิดปกติในการขับถ่าย และผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายร่วมกับมีและไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ โดยนิยามของภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำคือ มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ อย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ระดับความรู้สึกของไส้ตรงแบ่งออกเป็น 8 ระดับ คือ 0 ไม่มีความรู้สึกในไส้ตรง 1 รู้สึกภายในไส้ตรงแต่ไม่ใช่ลมและอุจจาระ 2 รู้สึกว่ามีลมในไส้ตรง 3 รู้สึกอยากผายลม 4 รู้สึกว่ามีอุจจาระในไส้ตรงแต่ไม่ปวดอยากถ่าย 5 รู้สึกปวดอยากถ่ายอุจจาระ 6 รู้สึกต้องรีบเข้าห้องน้ำแต่สามารถกลั้นอุจจาระได้ 7 รู้สึกปวดอยากถ่ายมากไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ โดยใช้เครื่องบาโรสแตทในการตรวจวัดระดับการรับความรู้สึกของไส้ตรงและค่าความยืดหยุ่นของผนังไส้ตรง แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ การตรวจโดยเพิ่มความดันครั้งละ 4 มม.ปรอท เริ่มต้นที่ 4 มม.ปรอท คงไว้ที่ 1 นาที จากนั้นปล่อยออก มีระยะเวลาห่างกัน 1 นาที และเพิ่มความดันขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึง 50 มม.ปรอท และขั้นที่ 2 ตรวจโดยการเพิ่มความดันขึ้นเรื่อย ๆ จาก 4 มม.ปรอท  ทุก 1 นาที โดยไม่มีการปล่อยลมออกจนกระทั่ง 50 มม.ปรอท ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำมีจำนวนการขับถ่ายต่อสัปดาห์มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำเฉลี่ย 7 (4-14) vs 5(2-7) นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำมีลักษณะของอุจจาระที่เหลวมากกว่า พบว่ามีโรคประจำตัวคือลำไส้แปรปรวน ชนิดท้องเสีย และกลั้นอุจจาระไม่ได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ ผู้ป่วยที่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำจำนวน 8 ราย (57.14%) ไม่มีความรู้สึกปวดอยากถ่ายอุจจาระ แต่จะมีความรู้สึกต้องรีบเข้าห้องน้ำทันทีหลังจากที่รู้สึกว่ามีอุจจาระในไส้ตรงซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำซึ่งพบเพียง 2 ราย (14.25%) และ อาสาสมัครที่ไม่มีความผิดปกติในการขับถ่ายซึ่งพบเพียง 3 ราย(20%) ผู้ป่วยที่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำมีค่าความดันระะหว่างความรู้สึกปวดอยากถ่ายจนถึงภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำสั้นกว่าผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ และอาสาสมัครที่ไม่มีความผิดปกติในการขับถ่าย ระดับการรับความรู้สึกของไส้ตรงและค่าความยืดหยุ่นของผนังไส้ตรงในผู้ป่วยที่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ และอาสาสมัครปกติ สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายร่วมกับมีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ พบว่ามีจำนวนการขับถ่ายต่อสัปดาห์มากกว่า มีลักษณะของอุจจาระที่เหลวมากกว่า พบโรคประจำตัวคือลำไส้แปรปรวนชนิดท้องเสียมากกว่า พบภาวะกลั้นอุจจาระไม่ได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ และที่สำคัญคือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายที่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ พบว่าผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกปวดอยากถ่ายอุจจาระ แต่จะมีความรู้สึกต้องรีบเร่งเข้าห้องน้ำทันทีหลังจากที่รู้สึกว่ามีอุจจาระในไส้ตรง และความดันระหว่างความรู้สึกปวดอยากถ่ายจนถึงภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำสั้นกว่าผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำ ในขณะที่อาสาสมัครที่ไม่มีความผิดปกติในการขับถ่ายและผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำจะมีค่าความดันของการปวดอยากถ่ายจนกระทั่งถึงภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำมากกว่า สุดท้ายคือระดับความรู้สึกของไส้ตรงทั้งสามกลุ่มไม่แตกต่างกัน
dc.description.abstractalternative Background: Fecal urgency can occur among healthy population but more common in patient with defecatory disorder both incontinence and constipation. The pathophysiology of urgency symptoms has not been well explored. Methods: We performed a rectal barostat in 15 healthy volunteers, 15 patients who had functional defecatory problems with fecal urgency at least once a week for > 3 months, and 15 patients without fecal urgency. The 8-scale rectal sensations (S0=no sense, S1=first sense, S2=constant sense, S3=desire to pass the wind, S4=sense of stool, S5=desire to defecate, S6=urgency, S7=intolerable urgency) were evaluated by barostat phasic distensions (barostat-P) with 4mmHg distension increment and continuous distensions 8-50 mmHg (barostat-C). Clinical characteristics and barostat parameters were compared between 3 groups. Results: Patients with fecal urgency had significantly more bowel movements per week [7(4-14) vs. 5 (2–7) times per week] and had looser stool than those without fecal urgency. The prevalence of IBS-diarrhea type and fecal incontinence were significantly more common in patients with fecal urgency. Patients without fecal urgency had significantly lower bowel movements per week than healthy volunteers. The rectal sensory thresholds were not significantly different between patients with fecal urgency, without fecal urgency and healthy volunteers. Eight patients with fecal urgency (57.14%) did not have a desire to defecate sensation but had stool urgency right after they had a sense of stool detected by the barostatP, which was significantly different from patients without fecal urgency (2 patients, 14.25%), and healthy volunteers (3 patients, 20%). Healthy volunteers had desire to defecate at the same time or short after they had sensation of stool (S4 to S5 window 0(0-3 mmHg)] which was significantly different from patients without fecal urgency. The sensation window for desire to defecate to urgency were presence in healthy volunteers and patients without fecal urgency, but not in patients with fecal urgency. The barostat-C did not demonstrate the differences between the prevalence of desire to defecate sensation and sensation window for desire to defecate to urgency between groups. The rectal compliances were not significantly different between healthy and patients with defecation disorders. Conclusion: Besides looser stool and more stool frequency, most patients with fecal urgency had stool urgency right after they had a sense of stool without having a desire to defecate sensation. In contrast, most of healthy controls and patients without fecal urgency had desire to defecate with an appropriate window between desire to defecate and urgency. These findings suggest there are differences in rectal sensory differentiation between healthy controls and patients with defecatory disorders with and without fecal urgency.  
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1160
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การขับถ่าย
dc.subject ลำไส้ -- ความผิดปกติ
dc.subject Excretion
dc.subject Intestines -- Abnormalities, Human
dc.title การเปรียบเทียบการรับความรู้สึกของไส้ตรงระหว่างผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในการขับถ่ายร่วมกับมีและไม่มีภาวะรีบเร่งเข้าห้องน้ำเมื่อปวดถ่ายอุจจาระโดยใช้เครื่องบาโรแสตท
dc.title.alternative The comparison of rectal sensation between patients who have defecatory problem with and without urgency symptom by using Barostat
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1160


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record